The Zhou Dynasty and New Ideas
The Zhou Dynasty
In the 1100s BC the
leaders of a people who came to be known as the Zhou ruled over a kingdom in China. They
joined with other nearby tribes and attacked and overthrew
the Shang dynasty. The Zhou dynasty
lasted longer than any other dynasty in Chinese history.
|
ราชวงศ์โจวกับแนวความคิดใหม่
ราชวงศ์โจว
เมื่อทศวรรษที่ 1100 ปีก่อนคริสตกาล
เหล่าผู้นำประชาชน นามว่า โจว ได้ปกครองอาณาจักรในประเทศจีน ผู้นำเหล่านั้นร่วมมือกับเผ่าชนที่อยู่ใกล้เคียงเข้าโจมตีและพิชิตราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์โจวปกครองจีนนานกว่าราชวงศ์อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์จีน
|
The Zhou Political
System
The Zhou kings
claimed to possess the mandate of heaven. According
to this idea, heaven gave power to the king or leader,
and no one ruled without heaven’s
permission. If a king was found to be bad, heaven would support another leader.
The Zhou came from an
area to the west of the Shang kingdom. Early
Zhou rulers used the mandate of heaven to justify their rebellion against the Shang. Later Zhou rulers expanded their territory to the northwest
and the east. Zhou soldiers then moved
south, eventually expanding their rule to the Chang
Jiang.
|
ระบบการเมืองราชวงศ์โจว
กษัตริย์ราชวงศ์โจวอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของประกาศิตสวรรค์
ตามแนวความคิดนี้ สวรรค์ได้ให้อำนาจแก่กษัตริย์หรือผู้นำ
และไม่มีใครปกครองโดยปราศจากการยินยอมจากสวรรค์ ถ้าพบว่ากษัตริย์ไม่ดี
สวรรค์ก็จะสนับสนุนผู้นำคนอื่น ๆ อีก
ราชวงศ์โจวเดินทางมาจากบริเวณแห่งหนึ่งไปยังด้านตะวันตกของอาณาจักรซาง
เหล่าผู้นำโจวในยุคแรกได้ใช้ประกาศิตสวรรค์เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติราชวงศ์ซาง ต่อมาเหล่าผู้นำโจวจึงได้ขยายอาณาเขตไปยังด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันออก
จากนั้นเหล่าทหารแห่งราชวงศ์โจวก็เคลื่อนทัพลงไปทางทิศใต้
ด้วยการขยายอำนาจไปยังฉางเจียงในที่สุด
|
||||
The Zhou established a
new political order. They granted
land to others in return for loyalty, military support,
and other services. The Zhou king
was at the highest level. He
granted plots of land to lords, or people of high
rank. Lords paid taxes and provided
soldiers to the king as needed. Peasants,
or farmers with small farms, were at the bottom of the
order. Each peasant family received a small plot of land and had to farm additional land for the
noble. The system was described in the Book
of Songs:
“Everywhere under vast Heaven
There
is no land that is not the king’s
Within
the borders of those lands
There
are none who are not the king’s servants.”
–
from the
Zhou Book of Songs
The Zhou system
brought order to China. Ruling
through lords helped the Zhou control distant areas and
helped ensure loyalty to the king. Over
time, however, the political order broke down. Lords passed their power to their sons,
who were less loyal to the king. Local
rulers gained power. They began to
reject the authority of the Zhou kings.
|
โจวได้สถาปนาระเบียบทางสังคมขึ้นใหม่
โดยประทานที่ดินให้กับพวกอื่น ๆ แลกเปลี่ยนกับความจงรักภักดี การสนับสนุนทางทหาร
และการบริการอื่น ๆ กษัตริย์โจวอยู่ในระดับสูงสุด พระองค์ทรงประทานที่ดินแปลงเล็กให้กับขุนนางหรือบุคคลที่ระดับสูง
ขุนนางจ่ายภาษาและจัดหาเหล่าทหารให้กับกษัตริย์ตามต้องการ ชาวไร่ชาวนาหรือเกษตรกรมีที่นาแปลงเล็ก
ๆ อยู่ในระดับต่ำสุดในการจัดระเบียบสังคม ครอบครัวของชาวไร่ชาวนาแต่ละครอบครัวได้รับแปลงนาเล็ก
ๆ และต้องทำนาบนที่ดินอีกแห่งหนึ่งให้กับขุนนาง มีคำอธิบายระบบนั้นไว้ในหนังสือบทกวี
ดังนี้
“ทุกหนทุกแห่งภายใต้สวรรค์อันกว้างใหญ่ไพศาล
ไม่มีพื้นแผ่นดินแห่งใดที่ไม่ใช่ของกษัตริย์
ภายในขอบเขตของพื้นแผ่นดินเหล่านั้น
ไม่มีผู้ใดที่ไม่เป็นคนรับใช้ของกษัตริย์”
-
จากหนังสือบทกวีราชวงศ์โจว
ระบบของโจวได้นำระเบียบมาสู่จีน
การปกครองโดยผ่านขุนนางช่วยให้ราชวงศ์โจวปกครองพื้นที่ที่อยู่แดนไกลและช่วยให้เกิดความมั่นใจในความจงรักภักดีต่อกษัตริย์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ระเบียบทางสังคมก็ล่มสลายลง
ขุนนางถ่ายโอนอำนาจของตนเองไปยังลูกหลานที่มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์น้อยกว่า นักปกครองท้องถิ่นมีอำนาจ
เริ่มปฏิเสธระบบบริหารราชการของกษัตริย์โจว
|
During China’s Warring States period, thousands of
armies fought each other to gain territory. The armies used new weapons and battle techniques in
the civil wars that lasted more than 200 years.
|
ในระหว่างยุครณรัฐ
กองทัพหลายพันกองได้ต่อสู้กันเพื่อแย่งดินแดน กองทัพได้ใช้อาวุธชนิดใหม่และเทคนิคการทำสงครามใหม่
ๆ ในสงครามกลางเมือซึ่งดำเนินอยู่มากกว่า 200 ปี
|
Confucius (551–479 BC)
Confucius, whose
Chinese title is Kongfuzi, grew up in extreme poverty. Confucius was a dedicated student into
his teenage years. Little is known about
how he received his formal education, but he mastered
many subjects, including music, mathematics, poetry, and history. He served
in minor government positions, then he became a teacher. He never knew his
teachings would transform Chinese life and
thought.
ขงจื๊อ (มีชีวิตระหว่าง 551 – 479 ปีก่อนคริสตกาล)
ขงจื๊อมีชื่อเป็นภาษาจีนว่า
ขงฟู่จื่อ เติบโตขึ้นในครอบครัวที่ยากจนมาก
ท่านอุทิศตนเป็นนักศึกษาในขณะที่ยังอยู่ในวัยเยาว์ น้อยคนนักที่รู้ว่าท่านได้รับการศึกษาเล่าเรียนมาอย่างไร
แต่ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ มากมาย ประกอบด้วยดนตรี คณิตศาสตร์
บทกวี และประวัติศาสตร์ ท่านรับราชการในตำแหน่งการปกครองเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อมาท่านเป็นครู
ท่านไม่เคยรู้เลยว่าคำสอนของท่านจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและความคิดของชาวจีน
|
Confucius and Society
During the late Zhou
period, thinkers came up with ideas about how to restore
order to China. One such person, Confucius, became the most influential teacher in Chinese
history. Confucius is a Western form
of the Chinese title of “Master Kong” or
“Kongfuzi.”
Confucius felt that
China was overrun with rude and dishonest people. Upset by the disorder and people’s lack of decency, Confucius said that
the Chinese needed to return to ethics, or moral
values. The ideas of Confucius are
known as Confucianism.
Confucius wanted
China to return to ideas and practices from a time when people knew their proper roles in society. These
are basic guidelines that Confucius thought would
restore family order and social harmony:
• Fathers
should display high moral values to
inspire their families.
• Children
should respect and obey their parents.
• All
family members should be loyal to each
other.
Confucius’s ideas about government were similar to
his ideas about family:
• Moral
leadership, not laws, brought order to China.
• A
king should lead by example, inspiring good
behavior in all of his subjects.
• The
lower classes would learn by following the example of their superiors.
Confucius expressed
this idea when he told kings:
“Lead the people by
means of government policies and regulate them through
punishments, and they will be evasive and have no sense of shame. Lead them by means of virtue . . . and they will have a sense
of shame and moreover have standards.”
–
Confucius,
from The Analects
As Confucius traveled
to many different regions, he earned the reputation of a respected teacher. His ideas were passed down through his students and later compiled into
a book called The Analects.
Because Confucianism
focuses on morality, family, society, and government, people often think of it as a philosophy or
way of thinking. But it is much more. Confucianism
is a unique teaching that is both philosophical and
religious. It has been a guiding
force in human behavior and religious understanding in
China.
Confucius believed
that when people behaved well and acted morally, they were simply carrying out what heaven expected
of them. Over the centuries Confucius’s ideas about virtue, kindness, and
learning became the dominant beliefs in China.
|
ขงจื๊อกับสังคม
ในระหว่างปลายยุคราชวงศ์โจว
นักคิดหลายท่านมีแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีฟื้นฟูระเบียบให้กับจีน บุคคลเช่นนั้นคนหนึ่ง
คือ ขงจื๊อ เป็นครูที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ชาวตะวันตกเรียก “อาจารย์ขง”
หรือ “ขงฟู่จื่อ” ว่า “Confucius”
ขงจื๊อรู้สึกว่า
จีนถูกเหยียบย่ำด้วยบุคคลผู้หยาบคายและไม่น่าไว้วางใจ เมื่อเกิดความสับสนวุ่นวายด้วยความไร้ระเบียบและประชาชนขาดคุณสมบัติผู้ดี
ขงจื๊อจึงกล่าวว่า จีนมีความจำเป็นต้องหวนกลับไปหาจริยธรรม หรือคุณค่าทางศีลธรรม
แนวความคิดของขงจื๊อ เรียกว่า ลัทธิขงจื๊อ
ขงจื๊อต้องการให้จีนกลับไปหาแนวความคิดและข้อปฏิบัติตั้งแต่ช่วงเวลาที่ประชาชนรู้จักบทบาทที่ถูกต้องในสังคม
บทบาทเหล่านี้เป็นนโยบายที่ขงจื๊อคิดว่าควรจะนำมาฟื้นฟูระเบียบครอบครัวและความสามัคคีกัน
-
บิดาควรจะแสดงคุณค่าสูงส่งทางศีลธรรมเพื่อให้
เกิดแรงบันดาลใจแก่ครอบครัว
- บุตรควรจะเคารพและเชื่อฟังบิดามารดาของตนเอง
-
สมาชิกของครอบครัวทุกคนควรจะซื่อสัตว์ต่อกัน
แนวความคิดของขงจื๊อเกี่ยวกับการปกครองคล้ายกับแนวความคิดของท่านที่เกี่ยวกับครอบครัว คือ
-
ภาวะผู้นำทางศีลธรรม ไม่ใช่กฎหมาย จะนำระเบียบ
มาสู่จีน
-
กษัตริย์ควรจะเป็นแบบอย่างของผู้นำ ด้วยการเร้าให้
เกิดพฤติกรรมในทางที่ดีในหมู่ประชาราษฎร
-
ชนชั้นต่ำควรจะเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติตามตัวอย่างที่ดี
งาม
ขงจื๊อได้อธิบายแนวความคิดนี้ขณะที่ท่านพูดกับกษัตริย์ว่า
“จงเป็นผู้นำประชาชนด้วยวิธีการแห่งนโยบายด้านการปกครองและจงปกครองพวกเขาด้วยการลงโทษ
อนึ่ง พวกเขาจะหลีกเลี่ยงและไม่มีความรู้สึกละอาย จงเป็นผู้นำพวกเขาด้วยวิธีการแห่งคุณธรรม...และพวกเขาจะมีความรู้สึกละอายและยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาจะมีมาตรฐาน”
-
ขงจื๊อ จาก ปกิณกคดี
ในขณะที่ขงจื๊อเดินทางไปยังภูมิภาคต่าง
ๆ มากมาย ท่านก็ได้รับกิตติศัพท์แห่งครูผู้น่าเคารพ แนวความคิดของท่านตกทอดไปยังสานุศิษย์ของท่านและต่อมาก็ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือ
เรียกว่า ปกิณกคดี
เนื่องจากลัทธิขงจื๊อมุ่งสอนศีลธรรม
ครอบครัว สังคมและการปกครอง ประชาชนมักจะคิดถึงลัทธินี้ในฐานะเป็นปรัชญาหรือแนวทางแห่งความคิดเป็นประจำ
แต่ลัทธิขงจื๊อมีมากกว่านั้น ลัทธิขงจื๊อเป็นคำสอนมีลักษณะเฉพาะที่เป็นทั้งปรัชญาและศาสนา
เป็นพลังชี้นำในด้านพฤติกรรมของมนุษย์และความเข้าใจด้านศาสนาในจีน
ขงจื๊อเชื่อว่า
เมื่อประชาชนประพฤติปฏิบัติดีและทำตามศีลธรรม ก็ง่ายที่จะเข้าถึงสวรรค์ที่พวกเขาปรารถนา
เมื่อผ่านไปหลายศตวรรษ แนวความคิดของขงจื๊อเกี่ยวกับคุณธรรม ความเมตตา
และการเรียนรู้ก็กลายเป็นความเชื่อที่มีบทบาทสำคัญในจีน
|
Laozi (c. 500s
or 400s BC)
Scholars have found
little reliable information about Laozi’s
life. Some believe that his book on
Daoism was actually the work of several different authors. Most ancient sources of information
about Laozi are myths. For example,
one legend states that when Laozi was born, he was already an old man. In Chinese Laozi can mean “Old Baby.” Over the years, many Daoists have
worshipped Laozi as a supernatural being.
เล่าจื๊อ (ศตวรรษที่ 500 หรือ 400 ก่อนคริสตกาล)
นักวิชาการค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของเล่าจื๊ออันน่าเชื่อถือเพียงเล็กน้อย
บางพวกเชื่อว่า หนังสือเกี่ยวกับเต๋าของท่านเป็นผลงานของนักประพันธ์ที่แตกต่างกันมากมายหลายคนเสียด้วยซ้ำ
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเล่าจื๊อที่เก่าแก่ส่วนมากเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
ตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อเล่าจื๊อกำเนิด ท่านก็เป็นชายแก่เรียบร้อยแล้ว คำว่า
เล่าจื๊อ ในภาษาจีน มีความหมายว่า “เด็กผู้อาวุโส” เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี
ชาวเต๋าจำนวนมากมีความเคารพนับถือเล่าจื๊อเป็นมนุษย์มหัศจรรย์
|
Daoism and Legalism
Other beliefs besides
Confucianism influenced China during the Zhou period. Two in particular attracted many
followers.
Daoism
Daoism takes its name
from Dao, meaning “the way.” Daoism stressed living in
harmony with the Dao, the guiding force of all reality. In Daoist teachings, the Dao gave birth
to the universe and all things in it. Daoism
developed in part as a reaction to Confucianism. Daoists didn’t agree
with the idea that active, involved leaders brought
social harmony. Instead, they
wanted the government to stay out of people’s lives.
Daoists believed that
people should avoid interfering with nature or each
other. They should be like water and simply let things
flow in a natural way. For Daoists, the
ideal ruler was a wise man who was in harmony with the
Dao. He would govern so
effortlessly that his people would not even know they
were being governed.
Daoists taught that the universe
is a balance of opposites: female
and male, light and dark, low and high. In
each case, opposing forces should be in harmony.
While Confucianism
focused its followers’ attention on the human world,
Daoists paid more attention to the natural world. Daoists regarded humans as just a part of nature,
not better than any other thing. In time the Dao, as
represented by nature, became so important to the
Daoists that they worshipped it.
Laozi was the most famous Daoist teacher. He taught that people should not try to gain wealth, nor should they
seek power. Laozi is credited with writing
the basic text of Daoism, The Way and Its Power. Later writers created many legends
about Laozi’s achievements.
Legalism
Legalism, the belief that
people were bad by nature and needed to be controlled,
contrasted with both Confucianism and Daoism. Unlike the other two beliefs, Legalism
was a political philosophy without religious concerns. Instead, it dealt only with government
and social control. Followers of
Legalism disagreed with the moral preaching of Confucius. Legalists also rejected Daoism because it didn’t stress respect for authority.
Legalists felt that
society needed strict laws to keep people in line and
that punishments should fit crimes. For
example, they believed that citizens should be held responsible for each other’s conduct. A guilty person’s
relatives and neighbors should also be punished. This way, everyone would obey the laws.
Unity and efficiency
were also important to Legalists. They
wanted appointed officials, not nobles, to run China. Legalists wanted the empire to continue
to expand. Therefore, they urged the state to always be prepared for war.
Confucianism, Daoism,
and Legalism competed for followers. All
three beliefs became popular, but the Legalists were the first to put their ideas into practice throughout
China.
|
ลัทธิเต๋าและลัทธินิติธรรมนิยม
ความเชื่ออีกอย่างหนึ่งนอกจากลัทธิขงจื๊อที่มีอิทธิพลต่อจีนในระหว่างยุคโจว
แนวความเชื่อทั้งสองนั้นมีสานุศิษย์เป็นพิเศษ
ลัทธิเต๋า
ลัทธิเต๋ามีชื่อมาจากคำว่า
เต๋า หมายความว่า “วิถี หรือ วิธี” ลัทธิเต๋าเน้นการดำเนินชีวิตกลมกลืนกับเต๋า
ซึ่งมีพลังชี้แนะความจริงทั้งหมด ในคำสอนของลัทธิเต๋า
เต๋าจะให้กำเนิดจักรวาลและสรรพสิ่งในจักรวาล ลัทธิเต๋าพัฒนาขึ้นมาบางส่วนเพื่อตอบโต้ลัทธิขงจื๊อ
ชาวเต๋าไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดที่ว่า ผู้นำที่มีความกระตือรือร้น มีความเอาใจใส่จะนำมาซึ่งความสมัครสมานสามัคคีทางสังคม
พวกเขาต้องการให้รัฐบาลออกไปจากชีวิตของประชาชนแทน
ชาวเต๋าเชื่อว่า
ประชาชนควรจะหลีกเลี่ยงการก้าวก่ายกับธรรมชาติและการก้าวก่ายซึ่งกันและกัน
พวกเขาควรจะเป็นเหมือนกับน้ำและปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างไหลไปตามวิถีทางแห่งธรรมชาติอย่างเรียบง่าย
สำหรับชาวเต๋าแล้ว ผู้ปกครองในอุดมคติคือคนที่ฉลาดที่มีความกลมกลืนกับเต๋า เขาควรจะปกครองอย่างง่าย
ๆ จนกระทั่งประชาชนของตนเองไม่รู้ว่าถูกปกครอง
ชาวเต๋าสอนว่า
จักรวาลคือความสมดุลของสิ่งที่ตรงข้ามกัน คือ สตรีและบุรุษ สว่างและมืด
ต่ำและสูง ในทุก ๆ กรณี พลังที่ตรงกันข้ามจะมีความกลมกลืนกัน
ในขณะที่ลัทธิขงจื๊อมุ่งสอนให้สานุศิษย์สนใจโลกมนุษย์
ชาวเต๋าให้ความสนใจโลกธรรมชาติ ชาวเต๋าถือว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ไม่ได้ดีไปกว่าสิ่งอื่นใดเลย ในไม่ช้า เต๋าในฐานะเป็นตัวแทนของธรรมชาติก็มีความสำคัญต่อชาวเต๋ามากขึ้นจนกระทั่งพวกเขาให้ความนับถือ
เล่าจื๊อคือครูเต๋าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
ท่านสอนว่า ผู้คนไม่ควรพยายามจะเอาแต่ความมั่งคั่ง ทั้งไม่ควรจะแสวงหาอำนาจ เล่าจื๊อได้รับความเชื่อถือด้วยการเขียนตำราขั้นพื้นของลัทธิเต๋า
คือ The
Way and Its Power (เต๋าและพลังแห่งเต๋า)
ต่อมานักเขียนได้สร้างตำนานเกี่ยวกับความสำเร็จของเล่าจื๊อ
ลัทธินิติธรรมนิยม
ลัทธินิติธรรมนิยม
คือความเชื่อที่ว่า ประชาชนเป็นคนเลวโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต้องได้รับการบังคับควบคุม
ซึ่งผิดแผกกับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ลัทธินิติธรรมนิยมไม่เหมือนกับความเชื่อทั้งสองที่กล่าวมา
เป็นปรัชญาทางการเมืองที่ปราศจากความเกี่ยวข้องทางศาสนา โดยมีความเกี่ยวข้องทางการปกครองและสังคมเท่านั้น
สานุศิษย์ของลัทธินิติธรรมนิยมไม่เห็นด้วยกับการเผยแพร่ศีลธรรมของขงจื๊อ นักนิติธรรมนิยมยังปฏิเสธลัทธิเต๋าด้วย
เพราะไม่ได้เน้นความเคารพต่อผู้มีอำนาจ
นักนิติธรรมนิยมรู้สึกว่า
สังคมจำเป็นต้องมีกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อรักษาให้ประชาชนอยู่ในระเบียบวินัยและควรจะลงโทษตามความเหมาะสมกับการกระทำอาชญากรรม
ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาเชื่อว่า
ประชาชนควรจะมีความรับผิดชอบต่อความประพฤติของกันและกัน ญาติและเพื่อนบ้านของผู้กระทำผิดควรจะได้รับการลงโทษด้วย
วิธีนี้ ทุก ๆ คนจะเชื่อฟังกฎหมาย
ความสามัคคีและความมีประสิทธิภาพ
ก็ยังมีความสำคัญกับนักนิติธรรมนิยม พวกเขาต้องการข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้ง
ไม่ใช่ขุนนาง มาบริหารจีน นักนิติธรรมนิยมต้องการให้จักรวรรดิดำเนินการขยายอาณาเขตต่อไป
ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงปลุกเร้ารัฐให้เตรียมตัวเพื่อทำสงครามอยู่ตลอดเวลา
ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และลัทธินิติธรรมนิยมได้แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงสานุศิษย์
ความเชื่อทั้งสามได้รับความนิยมทั้งหมด แต่นักนิติธรรมนิยมเป็นพวกแรกที่นำแนวความคิดของตนเองออกมาใช้ในทางปฏิบัติไปทั่วจีน
|
The Qin Dynasty
The Qin Emperor’s Strong Government
The Warring States
period marked a time in China when several states
battled each other for power. One state, the Qin, built a strong army that defeated the armies of the rivaling states. Eventually, the Qin dynasty
united the country under one government.
Shi Huangdi Takes the
Throne
In 221 BC, the Qin
king Ying Zheng succeeded in unifying China. He gave himself the title Shi Huangdi, which
means “first emperor.” Shi Huangdi
followed Legalist political beliefs. He
created a strong government with strict laws and harsh
punishments.
Shi Huangdi demanded
that everyone follow his policies. He
ordered the burning of all writings that did not agree
with Legalism. The only other books that were saved dealt with farming, medicine, and predicting the
future. Many scholars opposed the book
burnings. The emperor responded to
the opposition by burying 460 scholars alive.
Shi Huangdi also used
his armies to expand the empire. First,
they occupied the lands around both of China’s major rivers. Then
his soldiers turned north and advanced almost to the
Gobi Desert. To the south, they
invaded more lands and advanced as far as the Xi River.
Shi Huangdi ensured that there
would not be any future revolts in his new territories. When his soldiers conquered a city, he
had them destroy its walls and take all the weapons.
|
ราชวงศ์ฉิน
การปกครองที่เข้าแข็งของจักรพรรดิฉิน
ยุครณรัฐเป็นช่วงเวลาหนึ่งในจีนที่รัฐหลายรัฐก่อสงครามกันเพื่อแย่งชิงอำนาจ
รัฐหนึ่ง คือ รัฐฉิน ได้สร้างกองทัพที่เข้มแข็งเพื่อพิชิตกองทัพของรัฐที่เป็นศัตรู
ในที่สุด ราชวงศ์ฉินก็รวบรวมประเทศเป็นเอกภาพภายใต้การปกครองรัฐบาลเดียว
ฉื่อหวังตี้ขึ้นครองบัลลังก์
เมื่อ
221 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ฉิน ชื่อ พระเจ้าเจิ้ง ประสบความสำเร็จในการรวบจีนเป็นเอกภาพ
เขาตั้งชื่อตัวเองว่า ฉื่อหวังตี้ (ไทยเรียก จิ๋นซีฮ่องเต้) มีความหมายว่า “ปฐมจักรพรรดิ”
ฉื่อหวังตี้ปฏิบัติตามความเชื่อทางการเมืองของลัทธินิติธรรมนิยม
เขาได้สร้างรัฐบาลที่เข้มแข็งด้วยกฎหมายอันเข้มงวดและการลงโทษที่รุนแรง
ฉื่อหวังตี้มีความต้องการว่า ทุก ๆ
คนจะปฏิบัติตามนโยบายของตนเอง เขาได้สั่งให้เผาตำราที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธินิติธรรมนิยมทั้งหมด
หนังสืออื่น ๆ ที่เก็บรักษาไว้ มีเพียงการเกษตรกรรม แพทยศาสตร์
และการทำนายอนาคตเท่านั้น นักวิชาการจำนวนมากคัดค้านการเผาตำรา จักรพรรดิโต้ตอบการคัดค้านนั้นด้วยการฝังทั้งเป็นนักวิชาการ
จำนวน 460 คน
ฉื่อหวังตี้ยังใช้กองทัพของตนเองขยายจักรวรรดิด้วย
อันดับแรก กองทัพเข้ายึดดินแดนรอบ ๆ แม่น้ำหลักของจีนทั้งสองสาย ต่อมาทหารของเขาก็กลับขึ้นเหนือและเดินหน้าไปเกือบถึงทะเลทรายโกบี
ทางด้านทิศใต้ ได้รุกล้ำดินแดนมากขึ้นและเดินหน้าไปไกลถึงแม่น้ำซี
ฉื่อหวังตี้ได้สร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการก่อกบฏใด
ๆ ในอนาคตในดินแดนใหม่ของเขา เมื่อทหารของเขาพิชิตเมือง
เขาก็สั่งให้ทำลายกำแพงและยึดอาวุธทั้งหมด
|
China under the Qin
Shi Huangdi changed
China’s old political system. He claimed all the power and did not
share it with the lords. He even took land
away from them and forced thousands of nobles to move
with their families to the capital so he could keep an
eye on them. He also forced
thousands of commoners to work on government building projects. Workers faced years of
hardship, danger, and often, death.
To control China, Shi
Huangdi divided it into districts, each with its own
governor. Districts were subdivided into counties that were governed by appointed officials. This
organization helped the emperor enforce his tax system. It also helped the Qin enforce a strict
chain of command.
A Unified China
Qin rule brought
other major changes to China. Under
Shi Huangdi, new policies and achievements united the
Chinese people.
Qin Policies
As you read earlier,
mountains and rivers divided China into distinct regions. Customs varied, and people in each area
had their own money, writing styles, and laws. Shi Huangdi wanted all Chinese people to do
things the same way.
Early in his reign,
the emperor set up a uniform system of law.
Rules and punishments were to be the same in all
parts of the empire. Shi Huangdi
also standardized the written language. People
everywhere were required to write using the same set of symbols. People from different
regions could now communicate with each other in writing. This gave them a sense of
shared culture and a common identity.
Next, the emperor set up a new
money system. Standardized gold and
copper coins became the currency used in all of China. Weights and measures were also standardized. Even
the axle width of carts had to be the same.
With all these changes and the unified writing
system, trade between different regions became much
easier. The Qin government strictly
enforced these new standards. Any
citizen who disobeyed the laws would face severe
punishment.
Qin Achievements
New, massive building
projects also helped to unify the country.
Under Shi Huangdi’s rule,
the Chinese built a network of roads that connected the capital
to every part of the empire. These
roads made travel easier for everyone. Each
of these new roads was the same width, 50 paces wide. This design helped the army move
quickly and easily to put down revolts in distant areas.
China’s
water system was also improved. Workers built canals to
connect the country’s rivers. Like the new roads, the canals improved
transportation throughout the country. Using
the new canals and rivers together made it easier and
faster to ship goods from north to south. In
addition, the Qin built an irrigation system to make
more land good for farming. Parts
of that system are still in use today.
Shi Huangdi also wanted to protect
the country from invasion. Nomads
from the north were fierce warriors, and they were a real threat to China. Hoping to stop
them from invading, the emperor built the Great Wall, a barrier that linked earlier walls across China’s northern frontier.
The first section of the wall had been built in
the 600s BC to keep invading groups out of China. The Qin connected earlier pieces of the
wall to form a long, unbroken structure. Building the wall required years of labor from hundreds of
thousands of workers. Many of them
died building the wall.
|
จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฉิน
ฉื่อหวังตี้ได้เปลี่ยนแปลงระบบการเมืองเก่าของจีน
เขาอ้างสิทธิในอำนาจทั้งหมดและไม่อนุญาตให้ขุนนางมีส่วนร่วม โดยยึดที่ดินมาจากขุนนางและบังคับให้ขุนนางหลายพันคนพร้อมครอบครัวอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองหลวงเพื่อให้อยู่ในสายตา
พร้อมทั้งบังคับให้ประชาชนทั่วไปทำงานโครงการก่อสร้างของรัฐบาล เหล่าคนงานเผชิญกับความยากลำบาก
อันตราย และความตายเป็นประจำตลอดระยะเวลาหลายปี
ฉื่อหวังตี้ได้แบ่งจีนออกเป็นมณฑลเพื่อให้เหมาะกับการปกครอง
แต่ละมณฑลก็มีผู้ว่าการเป็นของตนเอง แล้วแบ่งมณฑลย่อยออกเป็นเขตการปกครองบริหารโดยข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้ง
การบริหารจัดการนี้ช่วยให้จักรพรรดิบังคับการจัดเก็บภาษี และยังช่วยให้ราชวงศ์ฉินบังคับใช้ห่วงโซ่แห่งการบังคับบัญชาอย่างเข้มงวด
จีนเป็นเอกภาพ
การปกครองของราชวงศ์ฉินได้นำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอื่น
ๆ มาสู่จีน ภายในการปกครองของฉื่อหวังตี้ นโยบายและความสำเร็จใหม่ ๆ
ได้รวมประชาชนชาวจีนเป็นเอกภาพ
นโยบายฉิน
ตามที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น
ภูเขาและแม่น้ำได้แบ่งจีนออกเป็นภูมิภาคที่แยกจากกันอย่างชัดเจน
วัฒนธรรมประเพณีก็แตกต่างกัน ประชาชนในแต่ละภูมิภาคก็มีเงินตรา ระบบการเขียน
และกฎหมายเป็นของตนเอง ฉื่อหวังตี้ต้องการให้ชาวจีนทำทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปในทางเดียวกัน
ต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรพรรดิได้จัดตั้งระบบกฎหมายเป็นแบบเดียวกัน การปกครองและการลงโทษต้องเป็นแนวเดียวกันในทุก ๆ ส่วนของจักรวรรดิ ฉื่อหวังตี้ยังทำภาษาเขียนให้มีมาตรฐานด้วย ประชาชนในทุก ๆ สถานที่จำเป็นต้องเขียนได้ด้วยการใช้สัญลักษณ์ชุดเดียวกัน ช่วงนี้ ประชาชนที่มาจากภูมิภาคต่าง ๆ กันควรจะสื่อสารกันด้วยการเขียน ข้อนี้ทำให้ชาวจีนมีความรู้สึกว่ามีวัฒนธรรมร่วมกันและมีเอกลักษณ์เดียวกัน
ต่อมาจักรพรรดิได้จัดตั้งระบบเงินตราขึ้นใหม่
มีการใช้เงินตราเป็นเหรียญทองคำและทองแดงที่เป็นมาตรฐานไปทั่วจีน หน่วยวัดน้ำหนักและระบบการวัดก็เป็นมาตรฐานด้วย
แม้ความกว้างของเพลายานพาหนะจะต้องมีขนาดเดียวกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทั้งหมดและระบบการเขียนเป็นเอกภาพ
การค้าขายระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ ก็ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก รัฐบาลฉินได้บังคับใช้กฎเกณฑ์ใหม่เหล่านี้อย่างเข้มงวด
ประชาชนคนใดที่ไม่เชื่อฟังกฎหมายจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
ความสำเร็จของราชวงศ์ฉิน
โครงการก่อสร้างใหม่
มีขนาดใหญ่ยังช่วยให้ประเทศเป็นเอกภาพ ภายใต้การปกครองของฉื่อหวังตี้
ชาวจีนได้สร้างระบบเครือข่ายถนนเชื่อมเมืองหลวงกับทุก ๆ ส่วนของจักรวรรดิ ถนนเหล่านี้ทำให้การสัญจรไปมาได้ง่ายขึ้นสำหรับทุก
ๆ คน ถนนใหม่เหล่านี้แต่ละสายมีความกว้างเท่ากัน คือ กว้าง 50 ก้าว การออกแบบนี้ช่วยให้กองทัพเคลื่อนทัพได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้นในการเดินทางไปปราบปรามการก่อกบฏในบริเวณที่ห่างไกล
ระบบน้ำของจีนยังมีการปรับปรุงด้วย เหล่าคนงานได้สร้างคลองเชื่อมแม่น้ำของประเทศ
คลองเหมือนกับถนนใหม่ ได้ปรับปรุงการขนส่งทั่วประเทศ การใช้คลองกับแม่น้ำร่วมกันทำให้บรรทุกสินค้าทางเรือจากทางเหนือไปทางใต้ได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น
นอกจากนั้น
ราชวงศ์ฉินก็ได้สร้างระบบชลประทานเพื่อทำให้ที่ดินเหมาะสำหรับการทำเกษตรมากขึ้น ระบบนั้นมีหลายส่วนยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
ฉื่อหวังตี้ยังมีความต้องการจะป้องกันประเทศจากการรุกรานด้วย
ชนเผ่าเร่ร่อนจากทางเหนือเป็นนักรบที่ดุร้าย และคุกคามต่อจีนอย่างแท้จริง ด้วยความหวังที่จะหยุดยั้งการรุกราน
จักรพรรดิจึงได้สร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เป็นแนวเขตแดนที่เชื่อมกำแพงช่วงแรกข้ามไปยังชายแดนด้านทิศเหนือของจีน
ส่วนแรกของกำแพงสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 600
ก่อนคริสตกาลเพื่อป้องกันกลุ่มคนที่รุกรานออกจากจีน ราชวงศ์ฉินได้เชื่อมกำแพงช่วงแรกทำเป็นโครงสร้างยาวไม่ขาดตอน
การสร้างกำแพงต้องการแรงงานจากคนงานหลายแสนคนเป็นเวลาหลายปี คนงานเหล่านั้นจำนวนมากได้เสียชีวิตลงขณะสร้างกำแพง
|
Emperor Shi Huangdi (c. 259–210 BC)
Shi Huangdi built a new capital city at Xianyang, now called Xi’an, in eastern China. Shi Huangdi didn’t trust people. Several attempts were made on his life,
and the emperor lived in fear of more attacks. He was
constantly seeking new ways to protect himself and extend
his life. By the time Shi Huangdi
died, he didn’t even trust his own advisors.
Even in death, he surrounded himself with
protectors: the famous terra-cotta
army.
Shi Huangdi was one of the most
powerful rulers in Chinese history. The first ruler to
unify all of China, he is also remembered for his building
programs. He built roads and canals
throughout China and expanded what would become the Great
Wall.
จักรพรรดิฉื่อหวังตี้ (มีชีวิตช่วง
259 – 210 ปีก่อนคริสตกาล)
ฉื่อหวังตี้ได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ที่เสียนหยาง ปัจจุบัน เรียกว่า ซีอาน
ในทิศตะวันออกของจีน ฉื่อหวังตี้ไม่ไว้วางใจประชาชน ในชั่วชีวิตของพระองค์ได้ทำความพยายามมากมาย
และทรงดำรงชีวิตด้วยความกลัวการโจมตีมากกว่า พระองค์ทรงมุ่งมั่นแสวงหาแนวทางในการป้องกันตนเองและยืดชีวิตตนเอง
ณ ช่วงเวลาที่ฉื่อหวังตี้จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ยังไม่ไว้วางใจผู้เป็นที่ปรึกษาของพระองค์เอง
แม้ในขณะสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ให้เอาองครักษ์มาแวดล้อมพระองค์ คือ
กองทัพทหารดินเผาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
ฉื่อหวังตี้เป็นนักปกครองที่ทรงประสิทธิภาพคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน
พระองค์ทรงเป็นนักปกครองคนแรกที่รวมจีนทั้งหมดเป็นเอกภาพ ทั้งยังเป็นที่จดจำในโครงการก่อสร้างของพระองค์
โดยได้สร้างถนนและคลองทั่วจีนตลอดจนขยายส่วนที่เป็นกำแพงเมืองจีน
|
The fall of the Qin
Shi
Huangdi’s policies unified China. However, his policies also stirred resentment. Many
peasants, scholars, and nobles hated his harsh ways.
Still, Shi Huangdi
was powerful enough to hold the country together. When he died in 210 BC China was
unified, but that didn’t last. Within a few years, the government began
to fall apart.
Rebel forces formed across the
country. Each claimed to have received the mandate of heaven to replace the emperor. One of these groups attacked the Qin capital, and the
new emperor surrendered. The palace was
burned to the ground. Qin authority had
disappeared. With no central government, the
country fell into civil war.
|
การล่มสลายของราชวงศ์ฉิน
นโยบายของฉื่อหวังตี้ได้รวบรวมจีนเป็นเอกภาพ
อย่างไรก็ตาม นโยบายของพระองค์ยังก่อให้เกิดความไม่พอใจด้วย ชาวไร่ชาวนา
นักวิชาการ และขุนนางหลายคนไม่ชอบแนวทางอันรุนแรงของพระองค์
ฉื่อหวังตี้ยังคงมีอำนาจพอที่จะยึดประเทศเข้าด้วยกัน
เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ 210 ปีก่อนคริสตกาล จีนก็เป็นเอกภาพ แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน
ภายในสองสามปี รัฐบาลก็เริ่มแตกแยกออกเป็นส่วน ๆ
คณะบุคคลก่อการกบฏเริ่มกระเพื่อมไปทั่วประเทศ
แต่ละกลุ่มก็อ้างว่าได้รับประกาศิตจากสวรรค์เพื่อให้มาแทนจักรพรรดิ ในบรรดากลุ่มเหล่านี้กลุ่มหนึ่งได้โจมตีเมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน
และจักรพรรดิองค์ใหม่ก็ยอมจำนน พระราชวังถูกเผาจนราบไปกับพื้นดิน อำนาจฉินก็สูญสิ้นไป
เมื่อไม่มีรัฐบาลกลาง ประเทศก็ตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง
|
The Great Wall has been
added to and rebuilt many times since Shi Huangdi ruled China.
กำแพงเมืองจีนสร้างเพิ่มเติมและสร้างใหม่หลายครั้งนับตั้งแต่กษัตริย์ฉื่อหวังตี้ปกครองประเทศจีน
|
This painting shows Shi Huangdi’s servants burning books and attacking scholars.
ในภาพนี้
ข้าราชบริพารของฉื่อหวังตี้กำลังเผาหนังสือและเข้าทำร้ายนักวิชาการ
|