Roman Civilizations/อารยธรรมโรมัน2

Government and Society
Roman Government
When the plebeians complained about Romes government in the 400s BC, the citys leaders knew they had to do something. If the people stayed unhappy, they might rise up and overthrow the whole government.

To calm the angry plebeians, the patricians made some changes to Romes government. For example, they created new offices that could only be held by plebeians. The people who held these offices protected the plebeiansrights and interests. Gradually, the distinctions between patricians and plebeians began to disappear, but that took a very long time.

            As a result of the changes the patricians made, Rome developed a tripartite government, or a government with three parts. Each part had its own responsibilities and duties. To fulfill its duties, each part of the government had its own powers, rights, and privileges.        

การปกครองและสังคม
การปกครองของโรมัน
            เมื่อสามัญชนคนทั่วไปตัดพ้อเรื่องการปกครองของกรุงโรมเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ผู้นำของเมืองก็รู้ว่าตนเองต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้าประชาชนอยู่อย่างไม่มีความสบายใจ พวกเขาอาจจะลุกฮือและล้มล้างอำนาจการปกครองทั้งปวง

 
        เพื่อทำให้สามัญชนที่กำลังโกรธให้เกิดความสงบ ชนชั้นสูงจึงได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองกรุงโรม ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาได้สร้างสถานที่ทำงานใหม่ที่สามัญชนเท่านั้นจึงสามารถเป็นเจ้าของได้ ผู้คนที่เป็นเจ้าของสถานที่ทำงานเหล่านี้ได้ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของสามัญชน ความแตกต่างระหว่างชนชั้นสูงและสามัญชนเริ่มจะหายไป แต่ก็ใช้เวลายาวนานมาก

          ผลจากการที่ชนชั้นสูงทำการเปลี่ยนแปลงนั้น กรุงโรมจึงได้พัฒนาการปกครองแบบไตรภาคี หรือการปกครองมีสามส่วน แต่ละส่วนจะมีการรับผิดชอบและหน้าที่ของตนเอง เพื่อทำให้หน้าที่สำเร็จ แต่ละส่วนของการปกครองจะมีอำนาจ สิทธิ และเอกสิทธิ์ของตนเอง


การปกครองของโรมัน

Magistrates
The first part of Romes government was made up of elected officials, or magistrates. The two most powerful magistrates in Rome were called consuls. The consuls were elected each year to run the city and lead the army. There were two consuls so that no one person would be too powerful.

Below the consuls were other magistrates. Rome had many different types of magistrates. Each was elected for one year and had his own duties and powers. Some were judges. Others managed Romes finances or organized games and festivals.

Senate
The second part of Romes government was the Senate. The Roman Senate was a council of wealthy and powerful Romans that advised the citys leaders. It was originally created to advise Romes kings. After the kings were gone, the Senate continued to meet to advise consuls.

Unlike magistrates, senatorsmembers of the Senateheld office for life. By the time the republic was created, the Senate had 300 members. At first most senators were patricians, but as time passed many wealthy plebeians became senators as well. Because magistrates became senators after completing their terms in office, most didnt want to anger the Senate and risk their future jobs.

            As time passed the Senate became more powerful. It gained influence over magistrates and took control of the citys finances. By 200 BC the Senate had great influence in Romes government.

Assemblies and Tribunes
The third part of Romes government, the part that protected the common people, had two branches. The first branch was made up of assemblies. Both patricians and plebeians took part in these assemblies. Their primary job was to elect the magistrates who ran the city of Rome.

The second branch was made up of a group of elected officials called tribunes. Elected by the plebeians, tribunes had the ability to veto, or prohibit, actions by other officials. Veto means I forbid in Latin, the Romans language. This veto power made tribunes very powerful in Romes government. To keep them from abusing their power, each tribune remained in office only one year.

Civic Duty
Romes government would not have worked without the participation of the people. People participated in the government because they felt it was their civic duty, or their duty to the city. That civic duty included doing what they could to make sure the city prospered. For example, they were expected to attend assembly meetings and to vote in elections. Voting in Rome was a complicated process, and not everyone was allowed to do it. Those who could, however, were expected to take part in all elections.

Wealthy and powerful citizens also felt it was their duty to hold public office to help run the city. In return for their time and commitment, these citizens were respected and admired by other Romans.

Checks and Balances
In addition to limiting terms of office, the Romans put other restrictions on their leaderspower. They did this by giving government officials the ability to restrict the powers of other officials. For example, one consul could block the actions of the other. Laws proposed by the Senate had to be approved by magistrates and ratified by assemblies. We call these methods to balance power checks and balances. Checks and balances keep any one part of a government from becoming stronger or more influential than the others.

Written Laws Keep Order
Romes officials were responsible for making the citys laws and making sure that people followed them. At first these laws werent written down. The only people who knew all the laws were the patricians who had made them.

Many people were unhappy with this situation. They did not want to be punished for breaking laws they didnt even know existed. As a result, they began to call for Romes laws to be written down and made accessible to everybody.

            Romes first written law code was produced in 450 BC on 12 bronze tables, or tablets. These tables were displayed in the Forum, Romes public meeting place. Because of how it was displayed, this code was called the Law of the Twelve Tables.

            Over time, Romes leaders passed many new laws. Throughout their history, though the Romans looked to the Law of the Twelve Tables as a symbol of Roman law and of their rights as Roman citizens.

ฝ่ายบริหารและตุลาการ (แมยิสเตร็ด = magistrates)
            ส่วนแรกของการปกครองกรุงโรมเกิดขึ้นจากเจ้าที่ที่ได้รับเลือก หรือฝ่ายบริหารและตุลาการ (แมยิสเตร็ด) ฝ่ายบริหารและตุลาการที่ประสิทธิภาพ 2 ฝ่าย ในกรุงโรม เรียกว่า กงสุล กงสุลจะได้รับการเลือกตั้งแต่ละปีเพื่อมาบริหารเมืองและเป็นผู้นำกองทัพ มีกงสุล 2 จำพวก เพื่อที่จะไม่ให้บุคคลคนหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป

         เบื้องล่างกงสุลก็มีฝ่ายบริหารและตุลาการอื่น ๆ กรุงโรมมีฝ่ายบริหารและตุลาการแตกต่างกันมากมายหลายประเภท  แต่ละประเภทได้รับเลือกให้อยู่เป็นเวลาหนึ่งปีและมีหน้าที่และอำนาจของตนเอง บางประเภทเป็นผู้พิพากษา บางประเภทบริหารการเงินการคลังหรือจัดการด้านการละเล่นและเทศกาล

วุฒิสภา
            ส่วนที่สองของการปกครองกรุงโรมคือวุฒิสภา (สภาซีเนต) วุฒิสภาของโรมัน คือ สภาของชาวโรมันผู้มั่งคั่งและมีอำนาจที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้นำของเมือง เริ่มแรกวุฒิสภาสร้างขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาแก่กษัตริย์แห่งโรม หลังจากที่ระบบกษัตริย์สูญสิ้น วุฒิสภาก็ยังดำเนินการประชุมกันเพื่อให้คำปรึกษากงสุล

          วุฒิสมาชิก เป็นสมาชิกของวุฒิสภา แตกต่างจากฝ่ายบริหารและตุลาการ อยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต ในขณะที่ยังเป็นสาธารณรัฐ วุฒิสภามีสมาชิก 300 คน ครั้งแรก วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง แต่เมื่อเวลาผ่านไป สามัญชนผู้มีความมั่งคั่งจำนวนมากก็เป็นวุฒิสมาชิกด้วย เนื่องจากฝ่ายบริหารและตุลาการจะเป็นวุฒิสมาชิกหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่ง ส่วนใหญ่จึงไม่ต้องการยั่วยุโทสะวุฒิสภาและทำให้เสี่ยงต่องานในอนาคตของตนเอง

          เมื่อเวลาผ่านไป วุฒิสภาก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีอิทธิพลเหนือฝ่ายบริหารและตุลาการและเข้าควบคุมการเงินการคลังของเมือง เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล วุฒิสภามีอิทธิพลมากในการปกครองของกรุงโรม


สภาราษฎรและสภาทริบูนส์
            ส่วนที่สามของการปกครองของกรุงโรม เป็นส่วนที่ปกป้องสามัญชน มี 2 สาขา คือ สาขาที่หนึ่ง เกิดขึ้นจากสภาราษฎร ทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำต่างมีส่วนร่วมในสภาเหล่านี้ งานในขั้นแรกของพวกเขาคือการเลือกฝ่ายบริหารและตุลาการผู้ที่จะมาบริหารกรุงโรม


          สาขาที่สอง เกิดขึ้นจากกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เรียกว่า ทริบูนส์ ทริบูนส์ได้รับเลือกจากสามัญชน มีความสามารถในการยับยั้ง หรือห้ามการกระทำจากเจ้าหน้าที่อื่น ๆ วีโต เป็นภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาของชาวโรมัน หมายความว่า “ฉันไม่อนุญาต” เพื่อป้องกันไม่ให้พวกทริบูนส์ใช้อำนาจในทางที่ผิด ทริบูนส์แต่ละคนจะอยู่ในตำแหน่งได้เพียงปีเดียวเท่านั้น


หน้าที่ของพลเมือง
            การปกครองของกรุงโรมอาจจะไม่ได้ผลถ้าปราศจากการร่วมมือของประชาชน ประชาชนให้ความร่วมมือในการปกครอง เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าเป็นหน้าที่พลเมืองของตนเอง หรือหน้าที่ที่มีต่อเมือง หน้าที่ของพลเมืองนั้นประกอบไปด้วยการกระทำสิ่งที่ตนเองทำได้เพื่อสร้างความมั่นใจให้เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาได้รับการคาดหวังว่าจะเข้าร่วมประชุมสภาและออกเสียงในการเลือกตั้ง การออกเสียงในกรุงโรมเป็นขบวนการที่สลับซับซ้อน และไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับอนุญาตให้ออกเสียงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สามารถออกเสียงได้ ได้รับการคาดหวังว่าจะเข้าร่วมในการเลือกตั้งทั้งหมด

         ประชากรที่มั่งคั่งและมีอำนาจยังมีความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของตนเองที่จะรับหน้าที่ราชการเพื่อช่วยบริหารบ้านเมือง เพื่อแลกกับเวลาและความมุ่งมั่นของตนเอง พลเมืองเหล่านี้จึงได้รับความนับถือและชื่นชมจากชาวโรมันคนอื่น ๆ

หลักการว่าด้วยการถ่วงดุลอำนาจ
            นอกจากการจำกัดระยะเวลาการทำหน้าที่แล้ว ชาวโรมันก็ได้วางข้อจำกัดอื่น ๆ ต่ออำนาจของผู้นำของพวกเขา พวกเขาทำอย่างนี้ด้วยการให้ความสามารถแก่เจ้าหน้าที่ปกครองในการที่จะจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น กงสุลคนหนึ่งสามารถกีดกันการกระทำของอีกคนหนึ่งได้ กฎหมายที่วุฒิสภาเสนอต้องได้รับความเห็นพ้องจากฝ่ายบริหารและตุลาการและได้รับความเห็นชอบจากสภาราษฎร พวกเราเรียกวิธีการถ่วงดุลอำนาจว่า หลักการว่าด้วยการถ่วงดุลอำนาจ หลักการถ่วงดุลอำนาจทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐบาลไม่ให้มีอำนาจมากขึ้นหรือมีอิทธิพลมากกว่าส่วนอื่น ๆ

กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
            เจ้าหน้าที่ของกรุงโรมมีความรับผิดชอบในการออกกฎหมายเมืองและสร้างความมั่นใจว่าประชาชนจะปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้น  อันดับแรก กฎหมายเหล่านี้ไม่ได้เขียนลงเป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนผู้รู้กฎหมายทั้งหมด คือ ชนชั้นสูงที่ออกกฎหมายเหล่านั้นเท่านั้น

         ประชาชนเป็นอันมากไม่มีความสุขกับสถานภาพนี้ พวกเขาไม่ต้องการถูกลงโทษจากการละเมิดกฎหมายที่ตนเองไม่รู้ว่ามีอยู่หรือไม่ เป็นเหตุให้พวกเขาเริ่มเรียกร้องให้มีการเขียนกฎหมายของกรุงโรมให้เป็นลายลักษณ์อักษรและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

         ประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรุงโรมจัดทำขึ้นเมื่อ 450 ปีก่อนคริสตกาล สลักบนแผ่นจารึกทองสัมฤทธิ์ จำนวน 12 แผ่น แผ่นจารึกเหล่านี้แสดงไว้ในจัตุรัส ซึ่งเป็นที่ประชุมของประชาชนชาวกรุงโรม เนื่องจากวิธีที่แสดงไว้ ประมวลกฎหมายนี้จึงเรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ

          เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าผู้นำกรุงโรมจึงผ่านกฎหมายใหม่ ๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม ตลอดประวัติศาสตร์ของชาวโรมัน พวกเขาจะมองไปที่กฎหมายสิบสองโต๊ะเป็นสัญลักษณ์กฎหมายของโรมันและของสิทธิตนเองในฐานะเป็นประชากรของโรมัน

จัตุรัสโรมัน

The Roman Forum
The Forum was the center of life in ancient Rome. The citys most important temples and government buildings were located there, and Romans met there to talk about the issues of the day. The word forum means public place.”
จัตุรัสโรมัน
                จัตุรัสเป็นศูนย์กลางของการดำเนินชีวิตในกรุงโรมโบราณ วิหารที่สำคัญที่สุดของเมืองและอาคารรัฐบาลก็ตั้งอยู่ ณ ที่นั่น และชาวโรมันก็มาชุมนุมกันที่นั่นเพื่อพูดคุยกันถึงปัญหาของแต่ละวัน คำว่า forum หมายความว่า “สถานที่สาธารณะ”

The Roman Forum
The Roman Forum, the place where the Law of the Twelve Tables was kept, was the heart of the city of Rome. It was the site of important government buildings and temples. Government and religion were only part of what made the Forum so important, though. It was also a popular meeting place for Roman citizens. People met there to shop, chat, and gossip.

The Forum lay in the center of Rome, between two major hills. On one side was the Palatine Hill, where Romes richest people lived. Across the forum was the Capitoline Hill, where Romes grandest temples stood. Because of this location, city leaders could often be found in or near the forum, mingling with the common people. These leaders used the Forum as a speaking area, delivering speeches to the crowds.

But the Forum also had attractions for people not interested in speeches. Various shops lined the open square, and fights between gladiators were sometimes held there. Public ceremonies were commonly held in the Forum as well. As a result, the forum was usually packed with people.

จัตุรัสโรมัน
            จัตุรัสโรมัน ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษากฎหมายสิบสองโต๊ะ เป็นศูนย์กลางกรุงโรม เป็นที่ตั้งของอาคารรัฐบาลและวิหารสำคัญ ถึงกระนั้น รัฐบาลและศาสนาก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้จัตุรัสมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งยังเป็นสถานที่ประชุมกันอย่างแพร่หลายสำหรับประชากรโรมัน ผู้คนจะไปชุมนุมกันที่นั่นเพื่อซื้อของ สนทนากันและซุบซิบนินทากัน



          จัตุรัสตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม ระหว่างเนินเขาสำคัญสองลูก ด้านหนึ่ง คือ เนินพาเลติเน ซึ่งเป็นที่อาศัยของคนร่ำรวยที่สุดของกรุงโรม อีกด้านหนึ่งของจัตุรัส คือ เนินแคปิโตลิเน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารที่ใหญ่ที่สุดของกรุงโรม เนื่องจากตำแหน่งนี้ ผู้นำเมืองจะมีผู้คนค้นหาในหรือใกล้ที่ประชุมได้ ร่วมกับคนทั่วไป เหล่าผู้นำเหล่านี้จะใช้จัตุรัสเป็นบริเวณอภิปราย ถ่ายทอดคำพูดต่อฝูงชน



          แต่จัตุรัสก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของผู้คนที่ไม่สนใจในการอภิปราย ร้านค้าต่าง ๆ ตั้งเรียงราย ณ ลานกว้าง และบางครั้งก็จัดให้มีการต่อสู้กันของนักต่อสู้ ณ ที่นั่น พิธีกรรมทั่วไปก็จัดขึ้นในจัตุรัสเป็นปกติอีกด้วย เป็นเหตุให้สถานที่ชุมนุมแออัดไปด้วยผู้คน