Greek Mythology and
Literature
Myths Explain the
World
The ancient Greeks
believed in many gods. These gods were at the center of
Greek mythology—a body of
stories about gods and heroes that try to explain how
the world works. Each story, or
myth, explained natural or historical events.
Greek Gods
People today have
scientific explanations for events like thunder,
earthquakes, and volcanic eruptions. The
ancient Greeks did not. They
believed their gods caused these events to happen, and
they created myths to explain the gods’ actions.
Among the most important Greek gods were the ones in the picture below:
• Zeus, king of the
gods
• Hera, queen of the
gods
• Poseidon, god of the
sea
• Hades, god of the
underworld
• Demeter, goddess of
agriculture
• Hestia, goddess of
the hearth
• Athena, goddess of
wisdom
• Apollo, god of the
sun
• Artemis, goddess of
the moon
• Ares, god of war
• Aphrodite, goddess
of love
• Hephaestus, god of
metalworking
• Dionysus, god of
celebration
• Hermes,
the messenger god
|
เทพปกรณัมและวรรณคดีกรีก
เทพนิยายอธิบายเรื่องโลก
ชาวกรีกโบราณศรัทธาในพระเจ้าหลายองค์
เทพเจ้าเหล่านี้อยู่ที่ศูนย์กลางเทพปกรณัมกรีก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าและเหล่าวีรบุรุษซึ่งพยายามอธิบายวิธีการทำงานของโลก
เรื่องเล่าหรือเทพนิยายแต่ละเรื่องอธิบายเหตุการณ์ทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์
ผู้คนในยุคปัจจุบันมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านั้น
เช่น ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว และการระเบิดของภูเขาไฟ ชาวกรีกโบราณไม่มี
พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าของตนเองทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ และพวกเขาก็ได้สร้างเทพนิยายเพื่ออธิบายการกระทำของเทพเจ้า
เทพเจ้าที่สำคัญที่สุดของกรีกอยู่ในภาพด้านล่างนี้
- ซูส ราชาแห่งเทพเจ้า
- ฮีรา ราชินีแห่งเทพเจ้า
- โพไซดอน เทพเจ้าแห่งทะเล
- เฮดีส เทพเจ้าแห่งยมโลก
- ดิมีเทอร์ เทพีแห่งเกษตรกรรม
- เฮสเตีย เทพีแห่งเตาเผาหรือครัวเรือน
- อะธีนา เทพีแห่งปัญญา
- อะพอลโล เทพแห่งพระอาทิตย์
- อาร์ทิมิส เทพีแห่งพระจันทร์
- อาเรสหรือเอรีส เทพแห่งสงคราม
- แอโฟรไดที เทพีแห่งความรัก
- ฮิฟีสตัส เทพแห่งช่างโลหะ
- ไดอะไนซัส เทพแห่งการเฉลิมฉลอง
- เฮอร์มีส เทพแห่งการสื่อสาร
|
Gods and Mythology
The Greeks saw the
work of the gods in events all around them.
For example, the Greeks lived in an area where
volcanic eruptions were common. To
explain these eruptions, they told stories about the god Hephaestus, who lived underground. The
fire and lava that poured out of volcanoes, the Greeks
said, came from the huge fires of the god’s
forge. At this forge he created
weapons and armor for the other gods.
The Greeks did not
think the gods spent all their time creating disasters,
though. They also believed the gods caused daily events. For example, they believed the
goddess of agriculture, Demeter, created
the seasons. According to Greek myth,
Demeter had a daughter who was kidnapped by another god. The desperate goddess begged the god to
let her daughter go, and eventually he agreed to let her return to her mother for six months every year. During the winter, Demeter is separated from
her daughter and misses her. In her
grief, she doesn’t let plants grow. When her daughter comes home, the goddess is happy,
and summer comes to Greece. To the
Greeks, this story explained why winter came every year.
To keep the gods happy, the Greeks
built great temples to honor them all around Greece. In return, however, they
expected the gods to give them help when they needed it. For example, many Greeks in need of advice traveled to Delphi, a city in
central Greece. There they spoke to the oracle,
a female priest of Apollo to whom they thought the god
gave answers. The oracle at Delphi
was so respected that Greek leaders sometimes asked her
for advice about how to rule their cities.
|
เทพเจ้าและเทพปกรณัม
ชาวกรีกเห็นพฤติการณ์ของเทพเจ้าในเหตุการณ์ทุกอย่างรอบ
ๆ ตัวเอง เช่น ชาวกรีกที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการปะทุของภูเขาเป็นธรรมดา
พวกเขาจะอธิบายการระเบิดของภูเขาไฟ โดยเล่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพฮิฟีสตัสผู้อาศัยอยู่ใต้พื้นพิภพ
ไฟและลาวาที่ไหลออกจากภูเขาไฟ ชาวกรีกเล่าว่า มาจากไฟกองมหึมาของเตาหลอมโลหะของเทพเจ้า
ที่เตาหลอมโลหะนี้เทพเจ้าองค์นั้นจะสร้างอาวุธและเสื้อเกราะให้กับเทพเจ้าองค์อื่น
ๆ
อย่างไรก็ตามชาวกรีกไม่เชื่อว่า
เหล่าเทพเจ้าใช้เวลาทั้งหมดก่อภัยพิบัติ นอกจากนั้น
พวกเขายังมีความเชื่อว่าเหล่าเทพเจ้าก่อให้เกิดเหตุการณ์ประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น
ชาวกรีกเชื่อว่า ดิมีเทอร์เทพีแห่งเกษตรกรรม เป็นผู้สร้างฤดูกาล ตามที่เทพนิยายของกรีกกล่าวไว้
ดิมีเทอร์มีธิดาองค์หนึ่งที่เทพเจ้าองค์อื่นลักพาตัวไป เทพีมีความสิ้นหวังได้ขอร้องให้เทพเจ้าปล่อยตัวธิดาของตนไปเสีย
และในที่สุดเทพเจ้าก็ตกลงปล่อยธิดากลับไปมารดาของหล่อนเป็นเวลา 6 เดือน ทุก ๆ ปี
ในช่วงฤดูหนาว ดิมีเทอร์พลัดพรากจากธิดาของหล่อนและคิดถึงธิดา
ด้วยความเศร้าโศก หล่อนจึงไม่ได้ดูแลพืชให้เจริญเติบโต ในขณะที่ธิดาของหล่อนกลับมาถึงบ้าน
เทพีมีความสุขสันต์และฤดูร้อนก็เข้ามาสู่กรีซ ชาวกรีซให้เหตุผลว่าด้วยเรื่องราวที่เล่ามานี้ฤดูหนาวจึงเกิดขึ้นทุก
ๆ ปี
เพื่อดูแลให้เทพเจ้ามีความสันติสุข
ชาวกรีกจึงได้สร้างวิหารขนาดใหญ่เพื่อเชิดชูเกียรติเทพเจ้าทุกองค์ทั่วกรีซ อย่างไรก็ตาม
ในทางกลับกัน
ชาวกรีกก็หวังให้เทพเจ้าเหล่านั้นให้ความช่วยเหลือตนเมื่อพวกเขามีความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
ชาวกรีกจำนวนมากต้องการคำแนะนำในการเดินทางไปยังเมืองเดลไฟ (หรือเดลฟี) ซึ่งเป็นเมืองในตอนกลางของกรีซ
ที่เมืองนั้นชาวกรีกจะพูดกับหมอดู ซึ่งเป็นนักบวชผู้หญิงนามว่า อะพอลโล ที่ชาวกรีกคิดว่าเทพเจ้าจะให้คำตอบกับหล่อน
หมอดูที่เมืองเดลไฟได้รับความเคารพนับถือมากจนกระทั่งบางครั้งเหล่าผู้นำกรีกขอร้องให้เธอแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปกครองเมือง
|
Heroes and Mythology
Not all Greek myths
were about gods. Many told about
the adventures of great heroes. Some of these heroes
were real people, while others were not. The
Greeks loved to tell the stories of heroes who had
special abilities and faced terrible monsters. The people of each city had their
favorite hero, usually someone from there.
The people of Athens,
for example, told stories about the hero Theseus. According to legend, he traveled to
Crete and killed the Minotaur, a terrible monster that
was half human and half bull. People
from northern Greece told myths about Jason and how he sailed across the seas in search of
a great treasure, fighting enemies the whole way.
Perhaps the most famous of all
Greek heroes was a man called Hercules. The myths explain how Hercules fought many monsters
and performed nearly impossible tasks. For
example, he fought and killed the hydra, a huge snake
with nine heads and poisonous fangs. Every
time Hercules cut off one of the monster’s
heads, two more heads grew in its place. In
the end, Hercules had to burn the hydra’s
neck each time he cut off a head to keep a new head from growing. People from all parts of Greece enjoyed stories about Hercules and his
great deeds.
Ancient Greek
Literature
Because the Greeks
loved myths and stories, it is no surprise that they
created great works of literature. Early
Greek writers produced long epic poems, romantic poetry,
and some of the world’s most famous
stories.
Homer and Epic Poetry
Among the earliest
Greek writings are two great epic poems, the Iliad and
the Odyssey, by a poet named Homer. Like most epics, both poems describe
the deeds of great heroes. The
heroes in Homer’s poems fought in
the Trojan War. In this war, the Mycenaean
Greeks fought the Trojans, people of the city called
Troy.
The Iliad tells
the story of the last years of the Trojan War. It focuses on the deeds of the Greeks,
especially Achilles, the greatest of all Greek warriors. It describes in great detail the
battles between the Greeks and their Trojan enemies.
The Odyssey describes
the challenges that the Greek hero Odysseus faced on his way home from the war. For
10 years after the war ends, Odysseus tries to get home,
but many obstacles stand in his way. He
has to fight his way past terrible monsters, powerful
magicians, and even angry gods.
Both the Iliad and
the Odyssey are great tales of adventure. But
to the Greeks Homer’s poems were
much more than just entertainment. They
were central to the ancient Greek education system. People memorized long passages of the
poems as part of their lessons. They
admired Homer’s poems and the
heroes described in them as symbols of Greece’s great history.
Homer’s poems
influenced later writers. They copied his writing styles
and borrowed some of the stories and ideas he wrote about in his works. Homer’s poems are considered some of the
greatest literary works ever produced.
|
วีรบุรุษและเทพปกรณัม
เทพนิยายกรีกไม่ได้กล่าวถึงเทพเจ้าทุกเรื่อง
มีหลายเรื่องที่กล่าวถึงการผจญภัยของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ วีรบุรุษเหล่านี้บางคนมีตัวตนจริง
ในขณะที่คนอื่น ๆ หลายคนไม่มีตัวตนจริง ชาวกรีกชอบเล่าเรื่องราวของวีรบุรุษผู้มีความสามารถพิเศษและเผชิญกับปีศาจดุร้าย
ผู้คนในแต่ละเมืองจะมีวีรบุรุษที่ตนเองชื่นชอบ โดยทั่วไปวีรบุรุษบางคนก็มาจากเมืองนั้น
ยกตัวอย่างเช่น
ชาวกรุงเอเธนส์จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวีรบุรุษธีเซียส ตามตำนานเล่าไว้ว่า ธีเซียสเดินทางไปยังเกาะครีตและสังหารปิศาจดุร้ายนามว่า
มินะทอร์ เป็นปีศาจครึ่งคนครึ่งวัว ประชาชนจากตอนเหนือของกรีซจะเล่าเทพนิยายเกี่ยวกับเจสันและเหตุการณ์ที่เขาแล่นเรือข้ามทะเลค้นหาขุมทรัพย์มหึมา
ด้วยการต่อสู้กับศัตรูตลอดทาง
บางทีในบรรดาวีรบุรุษของกรีกทุกคนผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
คือ บุรุษนามว่า เฮอร์คิวลีส
เทพนิยายกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เฮอร์คิวลีสต่อสู้กับปีศาจมากมายและทำภารกิจที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น เขาได้ต่อสู้และฆ่าปีศาจไฮดรา คืองูตัวขนาดมหึมามีเก้าหัวและเขี้ยวมีพิษ
ทุก ๆ ครั้งที่เฮอร์คิวลีสตัดหัวปิศาจหัวหนึ่ง
จะมีหัวงอกขึ้นมาอีกมากเป็นสองเท่า สุดท้าย เฮอร์คิวลีสต้องเผาคอของไฮดราในแต่ละครั้งที่เขาตัดหัวของมันเพื่อไม่ให้หัวงอกขึ้นมาใหม่
ประชาชนจากทุกส่วนของกรีซจะสนุกสนานกับเรื่องราวเกี่ยวกับเฮอร์คิวลีสและการกระทำอันยิ่งใหญ่ของเขา
วรรณคดีของกรีกโบราณ
เนื่องจากชาวกรีกชองเทพนิยายและเรื่องเล่ามากมาย
จึงไม่แปลกประหลาดที่ชาวกรีกจะสร้างผลงานด้านวรรณคดี นักเขียนชาวกรีกยุคแรกจะประพันธ์มหากาพย์ขนาดยาว
บทกวีนิพนธ์เกี่ยวกับความรักใคร่และการผจญภัย และบางเรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของโลก
โฮเมอร์กับมหากาพย์
ในบรรดาบทกวีของกรีกยุคแรกสุดมีมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่สองเรื่อง
คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ ซึ่งประพันธ์โดยนักกวีนามโฮเมอร์ บทกวีทั้งสองเหมือนกับมหากาพย์ส่วนใหญ่
กล่าวถึงภารกิจของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ วีรบุรุษในกวีนิพนธ์ของโฮเมอร์ได้ต่อสู้ในสงครามกรุงทรอย
ในสงครามนี้ ชาวกรีกไมซีเนียนได้ต่อสู้กับชาวเมืองทรอย
มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องราวในปีสุดท้ายแห่งสงครามกรุงทรอย
เน้นภารกิจของชาวกรีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะคิลลีส นักรบชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด
พร้อมทั้งกล่าวถึงสงครามระหว่างชาวกรีกกับศัตรูชาวเมืองทรอยไว้อย่างละเอียดมาก
มหากาพย์โอดิสซีย์กล่าวถึงการผจญภัยที่วีรบุรุษชาวกรีกนามว่า
โอดีซูส เผชิญในขณะที่เขาเดินทางกลับจากสงครามสู่บ้านเกิดเมืองนอน เป็นเวลาถึง
10 ปีหลังจากสิ้นสุดสงคราม โอดีซูสพยายามจะกลับบ้าน
แต่อุปสรรคมากมายมาขวางทางเขา เขาต้องต่อสู้กับปีศาจดุร้าย พ่อมดผู้มีอำนาจมาก
และแม้กระทั่งเทพเจ้าที่ทรงพิโรธ
ทั้งอีเลียดและโอดิสซีย์เป็นเรื่องราวการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่
แต่สำหรับชาวกรีกแล้วบทกวีของโฮเมอร์มีอะไรที่มากกว่าความบันเทิง เป็นศูนย์กลางของระบบการศึกษาของชาวกรีกโบราณ
ประชาชนจะท่องจำบทความขนาดยาวของกวีนิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน พวกเขานิยมชมชอบบทกวีของโฮเมอร์และวีรบุรุษที่บรรยายไว้ในบทกวีเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของกรีซ
บทกวีของโฮเมอร์มีอิทธิพลต่อนักเขียนในยุคต่อมา
นักเขียนเหล่านั้นจะลอกเลียนแบบรูปแบบการเขียนของโฮเมอร์และรับเอาเรื่องราวและแนวความคิดบางอย่างที่โฮเมอร์เขียนไว้ในผลงานของตนเอง
บทกวีของโฮเมอร์ถือว่าเป็นผลงานทางด้านวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งเท่าที่เคยมีการประพันธ์ขึ้น
|
|
Lyric Poetry
Other poets wrote
poems that were often set to music. During
a performance, the poet played a stringed instrument
called a lyre while reading a poem. These
poets were called lyric poets after their instrument,
the lyre. Today, the words of songs
are called lyrics after these ancient Greek poets.
Most poets in Greece
were men, but the most famous lyric poet was a woman named Sappho. Her poems were beautiful and emotional. Most of her poems were about love and relationships with
her friends and family.
Fables
Other Greeks told
stories to teach people important lessons.
Aesop, for example, is famous for his
fables. Fables are short
stories that teach the reader lessons about life or give
advice on how to live.
In most of Aesop’s fables, animals are the main
characters. The animals talk and
act like humans. One of Aesop’s
most famous stories is the tale of the ants and the grasshopper:
“The ants were
spending a fine winter’s day drying
grain collected in the summertime. A Grasshopper,
perishing [dying] with famine [hunger], passed by
and earnestly [eagerly] begged for a little food. The Ants inquired [asked] of him, “Why
did you not treasure up food during the summer?” He replied, “I had not leisure enough. I passed the days in singing.” They then said in derision: “If you were foolish enough to sing all
the summer, you must dance supperless to bed in the
winter.”
–Aesop,
from “The Ants and the Grasshopper”
The lesson in this fable is that
people shouldn’t waste time instead
of working. Those who do, Aesop says, will be sorry.
Another popular fable
by Aesop, “The Tortoise and the
Hare,” teaches that it is better to
work slowly and carefully than to hurry and make
mistakes. “The Boy Who Cried Wolf” warns readers not to play pranks on
others.
|
กวีนิพนธ์ความในใจ
นักกวีพวกอื่นจะเขียนบทกวีที่โดยปกติแล้วจะจัดเข้าในประเภทดนตรี
ในระหว่างการบรรเลง นักกวีจะเล่นเครื่องดนตรีประเภทสาย ที่เรียกว่า ไลร์ ไปพร้อมกับอ่านบทกวี
นักกวีเหล่านี้ เรียกว่า นักกวีนิพนธ์ความในใจตามชื่อเครื่องดนตรีของพวกเขา คือ
ไลร์ (พิณตั้ง) ปัจจุบัน คำร้องของเพลงเรียกว่า ลีริก (เนื้อเพลง) ตามชื่อนักกวีชาวกรีกโบราณเหล่านี้
นักกวีส่วนใหญ่ในกรีซจะเป็นผู้ชาย
แต่นักกวีนิพนธ์ความในใจ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเป็นผู้หญิง ชื่อ แซปโฟ บทกวีของหล่อนสวยงามและเร้าอารมณ์
บทกวีของหล่อนส่วนมากจะเกี่ยวกับเรื่องรักและความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวของหล่อน
นิทานที่ให้คติสอนใจ
ชาวกรีกอีกพวกหนึ่งจะเล่าเรื่องราวเพื่อสอนบทเรียนที่สำคัญให้กับประชาชน
ยกตัวอย่างเช่น อีสป มีชื่อเสียงมากในนิทานให้คติสอนใจของเขา
นิทานให้คติสอนใจคือเรื่องเล่าสั้น ๆ
ที่สอนบทเรียนเกี่ยวกับการดำรงชีวิตหรือให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตแก่ผู้อ่าน
ในนิทานให้คติสอนใจของอีสปส่วนใหญ่
จะมีสัตว์เป็นตัวละครหลัก สัตว์จะพูดได้และมีพฤติกรรมคล้ายมนุษย์
เรื่องเล่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอีสปเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องมดกับตั๊กแตน:
“พวกมดจะใช้เวลาทั้งวันในฤดูหนาวที่มีอากาศบริสุทธิ์ตากเมล็ดข้าวที่สะสมไว้ในฤดูร้อน
ตั๊กแตกที่กำลังจะตายเพราะความหิวโหย ผ่านมาและขออาหารเล็กน้อยด้วยความอยากได้ พวกมดจึงถามตั๊กแตกว่า
ทำไมเธอไม่สะสมอาหารไว้ในช่วงฤดูร้อนล่ะ?” ตั๊กแตกตอบว่า “ฉันไม่มีเวลาว่างพอ
ฉันจะใช้เวลาให้ผ่านไปทั้งวันด้วยการร้องเพลง” ต่อจากนั้นพวกมดก็เยาะเย้ยว่า
“ถ้าเธอโง่พอที่จะร้องเพลงตลอดฤดูร้อน เธอน่าจะเต้นรำไปสู่ที่นอนในฤดูหนาวโดยไม่ได้กินอาหารมื้อสุดท้ายของวัน”
- อีสป จากนิทานเรื่อง
“มดกับตั๊กแตน”
บทเรียนในนิทานให้คติสอนใจนี้
คือ คนไม่ควรใช้เวลาทำงานให้สิ้นเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ อีสปกล่าวว่า ผู้ที่ทำงานจะไม่มีความเศร้าโศกเสียใจ
นิทานให้คติสอนใจที่เป็นที่นิยมอื่น
ๆ ของอีสป คือ “เต่ากับกระต่ายป่า” สอนให้ทำงานช้า ๆ
และระมัดระวังดีกว่าการรีบด่วนและเกิดความผิดพลาด “เด็กชายผู้ตะโกนว่าหมาป่า”
(เด็กเลี้ยงแกะ – ผู้จัดทำ) เตือนให้ผู้อ่านไม่ให้พูดล้อเล่นกับคนอื่น
|
BIOGRAPHY
Homer (800s–700s BC)
Historians know
nothing about Homer, the greatest poet of the ancient
world. Some don’t think such a
person ever lived. The ancient
Greeks believed he had, though, and seven different cities claimed to be his birthplace. According to ancient legend, Homer was
blind and recited the Iliad and the Odyssey aloud. It wasn’t
until much later that the poems were written down.
อัตชีวประวัติ
โฮเมอร์ (ศตวรรษที่ 800 – 700 ก่อนคริสตกาล)
นักประวัติศาสตร์ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโฮเมอร์
ผู้ที่เป็นนักกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณ บางคนคิดว่า
บุคคลเช่นนี้ไม่น่าจะมีชีวิตอยู่จริง ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า เขามีชีวิตอยู่จริง
และถึงกับอ้างเมืองต่าง ๆ ถึงเจ็ดเมืองว่าเป็นสถานที่เกิดของเขา
ตำนานเก่าแก่เล่าไว้ว่า โฮเมอร์เป็นชายตาบอดและท่องมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ได้เสียงดัง
ตำนานนั้นไม่ได้อยู่จนถึงยุคหลังที่บทกวีได้รับการเขียนลงบนกระดาษ
|
|
BIOGRAPHY
Aesop (before 400 BC)
Historians don’t know for sure if a man named Aesop
ever really lived, but many ancient legends are told about him. According to one story, Aesop was a slave in the 500s BC. Another
story says he was an adviser to a king. Some
historians think that the fables credited to Aesop were actually written by many different people
and collected together under a single name.
อัตชีวประวัติ
อีสป (ก่อน 400 ปีก่อนคริสตกาล)
นักประวัติศาสตร์ไม่มั่นใจว่าชายนามว่าอีสปมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่
แต่มีตำนานเก่าแก่มากมายเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่าไว้ว่า
อีสปเป็นทาสเมื่อศตวรรษที่ 500 ก่อนคริสตกาล อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่าเขาเป็นมุขมนตรีของกษัตริย์
นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า ตามความจริง นิทานคติสอนใจสั้น ๆ
ที่กล่าวกันว่าอีสปเป็นผู้เล่า ถูกเขียนขึ้นโดยบุคคลต่าง ๆ
มากมายและรวบรวมไว้ด้วยกันในชื่อผู้เล่าคนเดียวกัน
|
Greek Literature
Lives
The works of ancient
Greek writers such as Homer, Sappho, and Aesop are still
alive and popular today. In fact,
Greek literature has influenced modern language,
literature, and art.
Language
Probably the most
obvious way we see the influence of the Greeks is in our
language. Many English words and expressions come from Greek mythology. For example, we call a long journey an “odyssey” after Odysseus, the wandering hero of
Homer’s poem. Something
very large and powerful is called “titanic.” This word comes from the Titans, a
group of large and powerful gods in Greek myth.
Many places around
the world today are also named after figures from Greek myths. For example, Athens is named for Athena, the goddess of wisdom. Africa’s Atlas Mountains were named after a
giant from Greek mythology who held up the
sky. The name of the Aegean Sea comes from Aegeus, a legendary Greek king. Europe
itself was named after a figure from Greek myth, the
princess Europa. Even places in
space bear names from mythology. For example, Jupiter’s moon Io was named after a goddess’s daughter.
Literature and the
Arts
Greek myths have
inspired artists for centuries. Great painters and
sculptors have used gods and heroes as the subjects of their works. Writers have retold ancient stories, sometimes set in modern times. Moviemakers
have also borrowed stories from ancient myths. Hercules, for example, has been the
subject of dozens of films. These films range from early
classics to a Walt Disney cartoon.
Mythological
references are also common in today’s
popular culture. Many sports teams
have adopted the names of powerful figures from myths,
like Titans or Trojans. Businesses
frequently use images or symbols from mythology in their
advertising. Although people no longer believe in the Greek gods, mythological ideas can still
be seen all around us.
|
วรรณคดีกรีกที่ยังคงมีอยู่
ผลงานของนักเขียนกรีกโบราณ
เช่น โฮเมอร์ แซปโฟ และอีสปยังคงใช้กันอยู่และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ความจริงแล้ว วรรณคดีกรีกมีอิทธิพลต่อภาษา วรรณคดีและศิลปะสมัยใหม่
ภาษา
วิธีชัดเจนที่สุดที่จะเห็นอิทธิพลของกรีกน่าจะอยู่ในภาษาของพวกเรา
คำในภาษาอังกฤษมากมายและคำอธิบายมาจากเทพนิยายกรีก ยกตัวอย่างเช่น
เราเรียกการเดินทางอันยาวไกลว่า “โอดีสซีย์” ตามชื่อโอดีซูสวีรบุรุษผู้ร่อนเร่พเนจรของบทกวีโฮเมอร์
บางอย่างที่ใหญ่และทรงประสิทธิภาพมากเราเรียกว่า “ไททานิก” คำนี้มาจากคำว่า
ไททันส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่และมีอิทธิฤทธิ์มากในเทพนิยากรีก
สถานที่จำนวนมากทั่วโลกในปัจจุบันยังตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญในเทพนิยายกรีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น กรุงเอเธนส์ ตั้งชื่อตามเทพีอะธีนา ซึ่งเป็นเทพีแห่งปัญญา
เทือกเขาแอตลาสของแอฟริกาตั้งชื่อตามยักษ์ในเทพนิยายกรีกที่ยกพื้นฟ้าไว้
ทะเลอีเจียนตั้งชื่อตามอีเจียส กษัตริย์กรีกในตำนาน
ทวีปยุโรปเองก็ตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญในเทพนิยายกรีก คือ เจ้าหญิงยุโรปา
แม้สถานที่ในอวกาศ ก็ตั้งชื่อตามเทพนิยายกรีก เช่น
ดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดีก็ตั้งชื่อตามชื่อธิดาของเทพีองค์หนึ่ง
วรรณคดีและศิลปะ
เทพนิยายกรีกก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้กับเหล่าศิลปินมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ
จิตรกรและประติมากรผู้ยิ่งใหญ่ได้ใช้เทพเจ้าและวีรบุรุษเป็นสาขาวิชาของผลงานตนเอง
นักเขียนได้นำเรื่องราวในสมัยโบราณมาเล่าใหม่ บางครั้งก็ทำให้เป็นสมัยใหม่
นักสร้างภาพยนตร์ยังได้ยืมเรื่องราวจากเทพนิยายโบราณมาใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น เฮอร์คิวลีสเป็นเรื่องราวของภาพยนตร์เป็นโหล ๆ
ภาพยนตร์เหล่านี้ถ่ายทอดเนื้อหาจากยุคคลาสสิกยุคแรกให้กับการ์ตูนวอลท์ ดิสนีย์
มีการอ้างอิงเทพนิยายเป็นเรื่องธรรมดาในวัฒนธรรมที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
ทีมกีฬาหลายทีมตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญผู้มีอำนาจจากเทพนิยาย เช่น ไททัน หรือ
โทรจัน ด้านธุรกิจก็ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์จากเทพนิยายในการโฆษณาอยู่บ่อยครั้ง
แม้ว่าในระยะยาวผู้คนจะไม่ศรัทธาในเทพเจ้ากรีก
แนวความคิดทางเทพนิยายก็ยังคงเห็นได้อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
|
Greek Names Today/ชื่อของกรีกในยุคปัจจุบัน
upiter’s moons Io / ดวงจันทร์ IO ของดาวพฤหัสบดี
|
|
The influence of
Greek stories and culture can still be
seen in names. Astronomers named one of Jupiter’s moons Io after a woman from Greek mythology. Sports teams also use Greek names. This college mascot is dressed like a Trojan warrior.
อิทธิพลของเรื่องราวและวัฒนธรรมกรีกสามารถเห็นได้ในชื่อ
นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี ตามชื่อผู้หญิงคนจากเทพนิยายกรีก
ทีมกีฬาก็ใช้ชื่อกรีกเช่นกัน
ตัวนำโชคของวิทยาลัยแห่งนี้แต่งตัวคล้ายกับนักรบโทรจัน
|
Let the Games Begin!
One way the ancient
Greeks honored their gods was by holding sporting
contests like the one shown on the vase. The
largest took place every four years at Olympia, a city
in southern Greece. Held in honor of Zeus, this event
was called the Olympic Games. Athletes
competed in footraces, chariot races, boxing, wrestling,
and throwing events. Only men could
compete. The Greeks held these
games every four years for more than 1,000 years, until
the AD 320s.
มาเริ่มเล่นกีฬากันเถิด!
แนวทางหนึ่งที่ชาวกรีกสมัยโบราณจะแสดงความเคารพเหล่าเทพเจ้าของตนเองคือการจัดการแข่งขันกีฬา
เช่น ที่แสดงบนแจกัน กีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี
ที่เมืองโอลิมเปีย อยู่ทางตอนใต้ของกรีซ เหตุการณ์นี้ เรียกว่า กีฬาโอลิมปิก
เพื่อแสดงความเคารพเทพซูส นักกรีฑาจะแข่งขันกันด้วยการวิ่ง การแข่งรถม้า
การชกมวย มวยปล้ำ และการขว้างจักร เฉพาะผู้ชายเท่านั้นจึงจะแข่งขันได้ ชาวกรีกได้จัดกีฬาเหล่านี้ทุก
ๆ 4 ปี เป็นเวลามากกว่า 1,000 ปีแล้ว จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 320
|
|
|
In modern times,
people began to hold the Olympics again. The
first modern Olympics took place in Athens in 1896. Since then, athletes from many nations
have assembled in cities around the world to compete. Today the Olympics include 28 sports, and both men and women participate. They are still held every four years. In 2004 the Olympic Games once again
returned to their birthplace, Greece.
ในยุคปัจจุบัน ผู้คนเริ่มจัดกีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง
กีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่จัดขึ้นในกรุงเอเธนส์ ในปี ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439)
ตั้งแต่นั้นมา นักกรีฑาจากหลายชาติจะรวมกันในหลายเมืองทั่วโลกเพื่อแข่งขันกีฬา
ปัจจุบันนี้โอลิมปิกมีกีฬา 28 ประเภท และเข้าร่วมแข่งขันทั้งผู้ชายและผู้หญิง และยังคงจัดขึ้นทุก
ๆ 4 ปี ในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)
กีฬาโอลิมปิกจะกลับมาจัดขึ้นที่บ้านเกิดคือประเทศกรีซอีกครั้ง
|
|