The World’s First Civilization
Rivers Support the
Growth of Civilization
Early peoples settled where crops
would grow. Crops usually grew well
near rivers, where water was available and regular floods made
the soil rich. One region in Southwest Asia was
especially well suited for farming. It
lay between two rivers.
The Land Between the
Rivers
The Tigris and Euphrates rivers are
the most important physical features of the region sometimes known as Mesopotamia. Mesopotamia means “between the rivers”
in Greek.
Seeing on the map, the region called Mesopotamia lies between Asia Minor
and the Persian Gulf. The region is
part of a larger area called the Fertile Crescent,
a large arc of rich, or fertile, farmland. The Fertile
Crescent extends from the Persian Gulf to the
Mediterranean Sea.
In ancient times, Mesopotamia was actually made of two parts. Northern
Mesopotamia was a plateau bordered on the north
and the east by mountains. Southern Mesopotamia
was a flat plain. The Tigris and
Euphrates rivers flowed down from the hills into this
low-lying plain.
The Rise of
Civilization
Hunter-gatherer
groups first settled in Mesopotamia more than 12,000
years ago. Over time, these people learned how to plant crops to grow their own food. Every year, floods on the Tigris and Euphrates rivers
brought silt, a mixture of rich soil and tiny
rocks, to the land. The fertile silt made
the land ideal for farming.
The first farm settlements formed
in Mesopotamia as early as 7000 BC. Farmers grew wheat, barley, and other types of grain. Livestock, birds, and fish were also good
sources of food. Plentiful food led to population
growth, and villages formed. Eventually, these early
villages developed into the world’s
first civilization.
|
อารยธรรมแห่งแรกของโลก
แม่น้ำช่วยให้อารยธรรมเจริญรุ่งเรือง
มนุษย์ยุคแรกจะตั้งรกรากในแหล่งที่สามารถปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้
ปกติแล้วพืชพันธุ์ธัญญาหารจะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในสถานที่ใกล้แม่น้ำ ที่มีหาน้ำได้ง่ายและฤดูน้ำหลากประจำปีก็ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิภาคแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เหมาะสมสำหรับทำเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี
ภูมิภาคนั้นตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย
แผ่นดินระหว่างแม่น้ำ
ลักษณะทางกายภาพที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคนั้น
ซึ่งเวลานั้น เรียกว่า เมโสโปเตเมีย คือ แม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส เมโสโปเตเมียมีความหมายในภาษากรีกว่า
“ระหว่างแม่น้ำ”
เมื่อมองดูแผนที่ด้านล่าง ภูมิภาคที่เรียกว่า
เมโสโปเตเมียจะตั้งอยู่ระหว่างเอเชียไมเนอร์และอ่าวเปอร์เซีย เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่มีพื้นที่ใหญ่มาก
ที่เรียกว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นส่วนโค้งของที่ดินเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์หรือมีดินดี
ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวทอดแผ่ขยายจากอ่าวเปอร์เซียไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ความจริง
ในสมัยโบราณ เมโสโปเตเมียแยกเป็น 2 ส่วน คือ เมโสโปเตเมียตอนเหนือ
เป็นที่ราบสูงมีภูเขาเป็นเขตแดนด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก และเมโสโปเตเมียตอนใต้เป็นที่ราบกว้างใหญ่
แม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสไหลลงมาจากเนินเขาลงสู่ที่ราบต่ำบริเวณนี้
กำเนิดอารยธรรม
กลุ่มนักล่าสัตว์และหาอาหารได้ตั้งหลักแหล่งครั้งแรก
ณ ดินแดนเมโสโปเตเมียมากกว่า 12,000 ปีที่ผ่านมา เมื่อเวลาผ่านไป
คนเหล่านี้ก็เรียนรู้วิธีปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารเพื่อเป็นอาหารให้กับตนเอง ทุก ๆ
ปีมีน้ำไหลหลาก ณ ฝั่งแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสนำดินตะกอนมาทับถม ผสมกับดินที่อุดมสมบูรณ์และก้อนหินเล็ก
ๆ ให้กับแผ่นดิน ดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์ทำให้แผ่นดินเหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี
การตั้งหลักแหล่งทำเกษตรกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย
ยุคแรกเมื่อ 7000 ปีก่อนคริสตกาล เกษตรกรปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
และข้าวชนิดอื่น ๆ ปศุสัตว์ นกและปลาเป็นแหล่งอาหารชั้นดีอีกด้วย อาหารที่อุดมสมบูรณ์นำไปสู่การเจริญเติบโตทางประชากร
และหมู่บ้านก็กำเนิดขึ้น ในที่สุด หมู่บ้านยุคแรกนี้ก็วิวัฒนาการไปสู่อารยธรรมแห่งแรกของโลก
|
Farming and Cities
Although Mesopotamia had fertile
soil, farming wasn’t easy there. The region received little rain. This meant that the water levels in the
Tigris and Euphrates rivers depended on how much rain
fell in eastern Asia Minor where the two rivers began. When a great amount of rain fell there, water levels
got very high. Flooding destroyed crops,
killed livestock, and washed away homes. When
water levels were too low, crops dried up.
Farmers knew they needed a way to control the
rivers’ flow.
Controlling Water
To solve their problems,
Mesopotamians used irrigation, a way of supplying water to
an area of land. To irrigate their land, they
dug out large storage basins to hold water supplies. Then they dug canals, human-made waterways, that connected these
basins to a network of ditches. These ditches
brought water to the fields. To protect
their fields from flooding, farmers built up the banks
of the Tigris and Euphrates. These built-up
banks held back floodwaters even when river levels were
high.
Food Surpluses
Irrigation increased the amount of
food farmers were able to grow. In
fact, farmers could produce a food surplus, or
more than they needed. Farmers also
used irrigation to water grazing areas for cattle and
sheep. As a result, Mesopotamians ate a variety of foods. Fish, meat, wheat, barley, and
dates were plentiful.
Because irrigation made farmers more productive, fewer people needed to farm. Some
people became free to do other jobs. As a result, new
occupations developed. For the first time, people became
crafters, religious leaders, and government workers. The type of arrangement in which each worker
specializes in a particular task or job is called a division
of labor.
Having people available to work on
different jobs meant that society could accomplish more. Large projects, such as
constructing buildings and digging irrigation systems, required specialized workers, managers, and organization. To complete these projects, the Mesopotamians needed structure and
rules. Structure and rules could be provided
by laws and government.
|
เกษตรกรรมกับเมือง
แม้ว่าเมโสโปเตเมียจะมีดินที่อุดมสมบูรณ์
การทำเกษตรกรรมที่นั่นก็ไม่ง่าย ภูมิภาคนั้นมีฝนตกน้อย นั่นหมายความว่าระดับน้ำในแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสขึ้นอยู่กับว่าในเอเชียไมเนอร์ตะวันออกซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำ
2 สาย มีฝนตกมากเพียงใด เมื่อมีฝนตกมาก ระดับน้ำในแม่น้ำก็ขึ้นสูงมาก
น้ำไหลหลากก็ทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทำลายปศุสัตว์ และทำลายที่อยู่อาศัย เมื่อระดับน้ำลงต่ำมาก
พืชพันธุ์ธัญญาหารก็เหี่ยวแห้งตาย เกษตรกรรู้ว่าพวกเขาจำเป็นต้องหาวิธีควบคุมการไหลของน้ำในแม่น้ำ
การควบคุมน้ำ
เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง
ชาวเมโสโปเตเมียจึงใช้การชลประทาน ซึ่งเป็นวิธีจัดสรรน้ำให้กับบริเวณพื้นที่ทำกิน
พวกเขาขุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อจัดสรรน้ำทำการชลประทาน ต่อมาก็ขุดคลอง ซึ่งเป็นทางส่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเชื่อมอ่างเก็บน้ำกับคูน้ำโยงเป็นตาข่าย
คูน้ำเหล่านี้นำน้ำไปสู่ทุ่งนา แล้วสร้างตลิ่งของแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมทุ่งนา
ตลิ่งที่สร้างสูงขึ้นเหล่านี้สกัดกั้นน้ำหลากแม้ในขณะที่ระดับน้ำสูงขึ้น
อาหารล้นเหลือ
การชลประทานได้เพิ่มอาหารขึ้นจำนวนมาก
เกษตรกรก็มีความสามารถในการเพาะปลูก ในความเป็นจริง เกษตรกรสามารถผลิตอาหารจนล้นเหลือ
หรือมากเกินความจำเป็น เกษตรกรจึงได้ใช้การชลประทานเพื่อรดน้ำบริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์มีวัวควายและแกะด้วย
เป็นผลให้ชาวเมโสโปเตเมียได้รับประทานอาหารหลากหลายชนิด ปลา เนื้อสัตว์ ข้าวสาลี
ข้าวบาร์เลย์ และผลอินทผลัมก็อุดมสมบูรณ์
เนื่องจากการชลประทานทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตมากขึ้น
จึงมีผู้ต้องการทำเกษตรกรรมจำนวนน้อย ผู้คนบางพวกจึงมีอิสระในการทำงานอื่น ๆ
จึงเป็นเหตุให้มีอาชีพใหม่ ๆ วิวัฒนาการขึ้นมา เป็นครั้งแรกที่ผู้คนกลายเป็นช่างฝีมือ
ผู้นำทางศาสนา และทำงานด้านการปกครองบ้านเมือง ประเภทการจัดการที่แรงงานแต่ละคนมีภารกิจหรือการงานโดยเฉพาะ
เรียกว่า การแบ่งชนชั้นแรงงาน
การที่ประชาชนมีการทำงานต่าง ๆ
ได้อย่างต่อเนื่อง หมายความว่า สังคมประสบผลสำเร็จมากขึ้น โครงการขนาดใหญ่ เช่น
การสร้างสิ่งก่อสร้างและขุดระบบชลประทาน จึงต้องการแรงงานที่ชำนาญ
ผู้จัดการและการจัดการเป็นพิเศษ ชาวเมโสโปเตเมียต้องการโครงสร้างและกฎระเบียบเพื่อทำโครงการเหล่านี้ให้เสร็จสมบูรณ์
โครงสร้างและกฎระเบียบสามารถจัดหาได้ด้วยกฎหมายและการปกครอง
|
The Appearance of
Cities
Over time, Mesopotamian settlements grew in size and complexity. They
gradually developed into cities between 4000 and 3000 BC.
Despite the growth of cities,
society in Mesopotamia was still based on agriculture. Most people still worked in farming jobs. However, cities were becoming important places. People traded goods there, and cities
provided leaders with power bases.
They were the political, religious,
cultural, and economic centers of civilization.
|
การเกิดขึ้นของเมือง
เมื่อเวลาผ่านไป
การตั้งหลักแหล่งของชาวเมโสโปเตเมียจึงเพิ่มขึ้นและสลับซับซ้อน ค่อย ๆ
วิวัฒนาการไปเป็นเมือง ระหว่าง 4,000 – 3,000 ปีก่อนคริสตกาล
แม้เมืองจะเจริญเติบโต
สังคมในเมโสโปเตเมียก็ยังอาศัยเกษตรกรรม ผู้คนส่วนมากยังทำเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม
เมืองหลายเมืองก็กลายเป็นสถานที่สำคัญ ผู้คนค้าขายสินค้าในเมืองเหล่านั้น
และเมืองหลายเมืองก็เป็นฐานอำนาจให้กับเหล่าผู้นำ
เมืองเหล่านั้นเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมทางการเมือง
การศาสนา วัฒนธรรม และการเศรษฐกิจ
|