HISTORY OF ASIA/ประวัติศาสตร์เอเชีย

HISTORY OF ASIA
ASIA IS THE WORLD'S LARGEST continent and the birthplace of the world's earliest civilizations, such as those of the Sumerians, China, and India. The emergence of these civilizations had a profound impact on history, both ancient and modern, as did the emergence of three major world religions: Hinduism, Buddhism, and Islam. Colonial interference affected Asia's development over the centuries, but after decades of independent growth, today's Asian economies are booming. There are still conflicts, however, and those in Southeast Asia and the Middle East tend to affect world politics.



ประวัติศาสตร์เอเชีย
            เอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นถิ่นที่กำเนิดอารยธรรมแห่งแรกสุดของโลก เช่น อารยธรรมสุเมเรียน (ซูเมอร์) อารยธรรมจีน และอารยธรรมอินเดีย การเกิดขึ้นของอารยธรรมเหล่านี้มีอิทธิพลล้ำลึกต่อประวัติศาสตร์ทั้งสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน เนื่องจากมีศาสนาสำคัญของโลก 3 ศาสนาอุบัติขึ้น คือ ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม (ความจริงเป็น 4 ศาสนาด้วย เพราะศาสนาคริสต์ก็อุบัติขึ้นในทวีปเอเชีย) การแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมมีผลกระทบต่อการพัฒนาของทวีปเอเชียเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่หลังจากอิสรภาพเจริญเติบโตขึ้นหลายทศวรรษ ปัจจุบันเศรษฐกิจของทวีปเอเชียก็กำลังเจริญรุ่งเรือง แต่ยังมีความขัดแย้งอยู่บ้างและความขัดแย้งเหล่านี้ก็มีอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลางมีแนวโน้มว่าจะเกิดผลกระทบต่อการเมืองโลก

HISTORY OF ASIA


Early development
Early civilizations in Asia were largely isolated from each other and from the rest of the world by barriers of deserts, mountains, and oceans. Only the Middle East had strong connections with Europe. Therefore, Asian civilizations and cultures developed independently for thousands of years. Over time, major civilizations, such as those of India and China, began to affect other Asian countries.

วิวัฒนาการในยุคแรก
            อารยธรรมยุคแรกในทวีปเอเชียส่วนใหญ่แยกตัวออกต่างหากจากกันและแยกออกจากส่วนอื่น ๆ ของโลก มีทะเลทราย ภูเขาและมหาสมุทรเป็นแนวกั้นเขตแดน มีเพียงตะวันออกกลางเท่านั้นที่ติดต่อสัมพันธ์กับทวีปยุโรป ดังนั้น อารยธรรมและวัฒนธรรมเอเชียจึงพัฒนาได้อย่างอิสระเป็นเวลาหลายพันปี เมื่อเวลาผ่านไป อารยธรรมสำคัญ เช่น  อารยธรรมในอินเดียและจีน ก็เริ่มมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ หลายประเทศในทวีปเอเชีย

Central Asia
For centuries the only travellers in the inhospitable landscape of Central Asia were traders using the Silk Road. In 1398, the Mongolian warrior Timur (1336 — 1405) swept down from the steppes and founded a Central Asian empire.

 
Uleg Beg Medrasa, Uzbekistan
มัดดารอซะฮ์หรือสถานศึกษาอูเล็ก เบค หรืออูลัก เบค
อูซเบกิสถาน


เอเชียกลาง
            เป็นเวลาหลายศตวรรษมีเพียงเหล่านักเดินทางที่อยู่ในภูมิประเทศซึ่งไม่เหมาะสำหรับอยู่อาศัยแห่งเอเชียกลางเดินทางมาค้าขายโดยใช้เส้นทางสายไหม ในปี ค.ศ. 1398 (พ.ศ. 1941 ตรงกับสมัยสุโขทัย) ตีมูร์ (มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1336 – 1405 = พ.ศ. 1879 – 1948 อายุ 69 ปี) นักรบชาวมองโกลได้กวาดต้อนที่ราบกว้างใหญ่และก่อตั้งจักรวรรดิเอเชียกลางขึ้น



Swat, Pakistan




Samarkand
In 1369, Timur moved his capital to the prosperous city of Samarkand, in modern Uzbekistan. The city experienced a golden age and became the architectural jewel of Central Asia as Timur and his descendants built palaces, astronomical observatories, and Islamic colleges. In the early 1500s, nomadic Uzbeks attacked the city.


เมืองซามาร์คันด์
            ใน ค.ศ. 1369 (พ.ศ. 1912) ตีมูร์ได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองซามาร์คันด์ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญมั่งคั่ง ในประเทศอุซเบกิสถานปัจจุบัน เมืองนั้นได้บรรลุถึงยุคทองและกลายเป็นเมืองสถาปัตยกรรมเพชรพลอยแห่งเอเชียกลาง เป็นเหตุให้ตีมูร์และลูกหลานได้สร้างปราสาทราชวัง หอดูดาว และสถาบันการศึกษาชั้นสูงทางศาสนาอิสลาม ในต้นศตวรรษที่ 1500 เผ่าเร่ร่อนชาวอุซเบกก็ได้โจมตีเมืองนี้

Kushan Empire
In c. 170 BC, a northern Chinese clan, the Yuezhi, moved west to Central Asia. By the 3rd century AD, they had founded an empire that stretched from eastern Iran to the Ganges in India. The Kushans controlled fertile river valleys and were at the centre of the silk trade. They encouraged Buddhism and religious art, but declined in the 4th century.


จักรวรรดิกุษาณะ
            เมื่อประมาณ 170 ปีก่อนคริสตกาล เผ่าจีนที่อยู่ตอนเหนือ ชื่อ เยว่จือ (หรือ เย่ฉี – Yuezhi) ได้อพยพจากทางทิศตะวันตกไปยังเอเชียกลาง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3 ชนเผ่าเหล่านั้นก็ได้ก่อตั้งจักรวรรดิยาวเหยียดจากอิหร่านทางด้านตะวันออกไปจนถึงลุ่มแม่น้ำคงคาในอินเดีย จักรวรรดิกุษาณะจึงปกครองลุ่มแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์และเป็นศูนย์กลางการค้าขายผ้าไหม ชนเหล่านั้นได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปะทางศาสนา แต่ในศตวรรษที่ 4 ก็ล่มสลาย
Ancient civilizations
The Sumerians of western Asia evolved the world's first civilization, but it was the early civilizations of India and China that affected Asia the most. Their religions had special impact: Hinduism (the religion of the people of India) and Buddhism (founded by Siddhartha Gautama and one of the three great religions of China) spread over Asia.





อารยธรรมโบราณ
            ชาวซูเมอร์ (หรือสุเมเรียน) ที่อยู่ในเอเชียตะวันตกได้ค่อย ๆ พัฒนาอารยธรรมแห่งแรกของโลก แต่เป็นอารยธรรมยุคแรกของอินเดียและจีนที่ส่งผลกระทบต่อทวีปเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ศาสนาของชาวอินเดียและจีนมีอิทธิพลเป็นพิเศษ ศาสนาฮินดู (หมายความว่า ศาสนาของชาวอินเดีย) และศาสนาพุทธ (ประกาศโดยพระสิทธารถะ เคาตมะ = บาลีเป็น สิทธัตถะ โคตมะ และเป็นศาสนาหนึ่งในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ 3 ศาสนาของจีน คือ ศาสนาพุทธ (นิกายมหายาน) ลัทธิขงจื๊อ และลัทธิเล่าจื๊อ = เต๋า) ที่เผยแพร่ไปทั่วทวีปเอเชีย
 Koguryo dynasty


Padmasambhava

Koguryo dynasty
By the 7th century China's influence was increasing, and Chinese monks converted Korea to Buddhism. The Koguryo rulers (1st century BC-AD 7th century) encouraged the spread of Buddhism. From Korea, the missionaries went to Japan, which adopted not only Buddhism but also Chinese script, architecture, and culture.


ราชวงศ์โกคูรยอ
            ประมาณศตวรรษที่ 7 อิทธิพลของจีนเพิ่มมากขึ้น และพระภิกษุชาวจีนก็ได้เปลี่ยนแปลงประเทศเกาหลีให้หันมานับถือพุทธศาสนา นักปกครองโกคูรยอ (ศตวรรษที่ 1 – คริสต์ศตวรรษที่ 7) ก็ให้การสนับสนุนการเผยแพร่พุทธศาสนา (เป็นนิกายมหายาน) จากประเทศเกาหลี พระสมณทูตก็เดินทางไปญี่ปุ่น ซึ่งไม่เพียงแต่ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเท่านั้น แต่ยังยอมรับเอาภาษา สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของจีนด้วย

Padmasambhava
A legendary sage and yoga expert from Swat, modern Pakistan, Padmasambhava founded Tibetan Buddhism. He and his consort, Yeshe Tsogyal, arrived in Tibet in 747, and established the first Buddhist monastery. The sage then spent his life writing and lecturing on the religion.


พระปัทมสัมภวะ
            นักปราชญ์และผู้เชี่ยวชาญด้านโยคะในตำนานจากหุบเขาสวัต ในประเทศปากีสถานปัจจุบัน นามว่า พระปัทมสัมภวะได้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาสายทิเบต ท่านและสหาย นามว่า ยีชี  ซกเจียล (Yeshe Tsogyal) ได้เดินทางมาถึงทิเบตในปี ค.ศ. 747 (พ.ศ. 1290) และสถาปนาวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาท่านก็อุทิศชีวิตในการเขียนและบรรยายพระศาสนา










Chola dynasty
From 850-C.1200, a powerful dynasty known as the Cholas began to dominate much of India. They built many Hindu temples and spread their religion to Sri Lanka. They extended their naval power over the seas of Southeast Asia, and this helped spread Hinduism as far as Sumatra and Bali.


(Right) A Hindu temple in Bali, Indonesia, attests to the great influence of the Chola dynasty.


A Hindu temple in Bali, Indonesia









ราชวงศ์โจฬะ
            นับตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 850 – 1200 ราชวงศ์ที่มีอำนาจ ชื่อ โจฬะเริ่มเข้าปกครองอินเดียเป็นส่วนมาก ราชวงศ์โจฬะได้สร้างวัดฮินดูมากมายและเผยแพร่ศาสนาไปยังศรีลังกา พวกเขาขยายอำนาจทางทะเลไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยเหตุนี้จึงสนับสนุนให้ศาสนาฮินดูเผยแพร่ไปไกลถึงเกาะสุมาตรและเกาะบาหลี



(ภาพซ้ายมือ) ศาสนสถานในศาสนาฮินดู ในเกาะบาหลี อินโดนีเซีย  เป็นประจักษ์พยานถึงอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของราชวงศ์โจฬะ 
Southeast Asia
For 1,000 years, India was the major shaping force of this region, and provided a mould for Southeast Asian culture, art, and religion. Its influence declined after c.1300.

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            เป็นเวลา 1,000 ปี อินเดียมีอิทธิพลสำคัญต่อภูมิภาคนี้ และหล่อหลอมวัฒนธรรม ศิลปะ และศาสนาให้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลล่มสลายภายหลังคริสต์ศตวรรษที่ 1300
 





Sea routes
Dhow leaving Muscat, Oman  
เรือใบเดาแล่นออกจากมัสกัต ประเทศโอมาน


 
Thai tribal woman  สตรีเผ่าไทย
Thai tribal woman  
สตรีเผ่าไทย
Sea routes
From c.300, Indian traders sailed to Thailand, Malaysia, Indonesia, and the Philippines.

From the 1200s, Arabian merchants spread Islam along sea trade routes.

From c. 1500, the region also traded with Europe.

เส้นทางเดินเรือ
            ศตวรรษที่ 300 พ่อค้าชาวอินเดียได้เดินทางทางเรือไปยังประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ศตวรรษที่ 1200 พ่อค้าชาวอาระเบียได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามไปตามเส้นทางการค้าขายทางทะเล
ศตวรรษที่ 1500 ภูมิภาคนี้ก็ทำการค้าขายกับยุโรปด้วย

Siam
Over centuries, waves of migrants from the north entered Siam (Thailand), and intermarried with the native tribes. In the 13th century, one tribe, the Thais, unified Siam into a single nation with one monarch and one religion - Buddhism.


ประเทศสยาม
            เมื่อเวลาผ่านหลายศตวรรษ คลื่นอพยพจากตอนเหนือเข้าสู่สยาม (ประเทศไทย) และมีการสมรสกับชนเผ่าท้องถิ่น ในศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าหนึ่ง ที่เรียกว่าเผ่าไทย ก็รวบรวมประเทศสยามเป็นชาติหนึ่งเดียวมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวและมีศาสนาเดียว คือ พุทธศาสนา

Trade and culture
During the 17th, 18th, and 19th centuries trade thrived, though some Asian countries were closed to outsiders. Russia and European countries bought silk, tea, and porcelain from China. India traded with the world, and was famous for its handmade textiles, such as "paisley", which was a traditional Indian pattern. During this period, Western powers became increasingly interested in annexing Asian territories for trade purposes.


การค้าขายและวัฒนธรรม
            ในช่วงศตวรรษที่ 17 18 และ 19 การค้าขายก็เจริญรุ่งเรือง หลายประเทศทั่วเอเชียก็ติดต่อใกล้ชิดกับประเทศภายนอก ประเทศรัสเซียและประเทศทางยุโรปได้ซื้อผ้าไหม ชา และเครื่องลายครามจากจีน อินเดียก็ค้าขายกับชาวโลก และมีชื่อเสียงในด้านหัตถกรรมสิ่งทอ เช่น ผ้าพันคอหรือคลุมไหล่ที่ทอใยขนสัตว์ที่นิ่มและมีลายสีที่ละเอียด (ลายลูกน้ำ) ซึ่งเป็นลวดลายดั้งเดิมของอินเดีย ในช่วงเวลานี้ มหาอำนาจตะวันตกมีความกระหายที่จะผนวกดินแดนเอเชียเพิ่มขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการค้าขาย
 
Manchu Dynasty
A rich woman's silk robe, 19th century

ผ้าไหมของเศรษฐินี ศตวรรษที่ 19


 
Grand Palace, Bangkok

Grand Palace, Bangkok
พระบรมมหาราชวัง  กรุงเทพฯ


Manchu Dynasty
China's Manchu Dynasty (1644—1911) was expansionist, and spread its culture by acquiring other territories, such as Mongolia (1697), Tibet (1751), and eastern Turkestan (1760). At home, however, economic conditions worsened.


ราชวงศ์แมนจู
            ราชวงศ์แมนจู (หรือราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 – 1911 = พ.ศ. 2187 – 2454) คือราชวงศ์ที่ชอบขยายอาณาเขต และเผยแพร่วัฒนธรรมด้วยการเสาะหาดินแดนอื่น ๆ เช่น มองโกเลีย (ค.ศ. 1697 = พ.ศ. 2240) ทิเบต (ค.ศ. 1751 = พ.ศ. 2294) และเตอร์กีสถาน (ค.ศ. 1760 = พ.ศ. 2303) อย่างไรก็ตาม ที่ดินแดนของตนเองกลับมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ


Asian resistance
In the 17th and 18th centuries, China, Japan, Korea, and Siam (Thailand) resisted European expansion. China confined European trade to Macao and Canton, Japan traded only with Holland at Nagasaki, and Korea remained closed to the west. In 1688, a revolution in Siam ended French attempts to gain influence in Bangkok (probably Ayudhya).


การต่อต้านของเอเชีย
            ในศตวรรษที่ 17 และ 18 จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และสยาม (ประเทศไทย) ได้ต่อต้านการขยายดินแดนของยุโรป จีนจำกัดขอบเขตให้ชาวยุโรปค้าขายกับมาเก๊าและแคนตัน (คือกว่างโจว) ญี่ปุนค้าขายกับฮอลแลนด์ที่นะงะซะกิเท่านั้น และเกาหลียังคงปิดตัวต่อประเทศตะวันตก ในปี ค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231 ตรงกับรัชสมัยพระเพทราชแห่งกรุงศรีอยุธยา) การปฏิวัติในประเทศสยามได้ยุติความพยายามของฝรั่งเศสที่จะครองอิทธิพลในกรุงเทพฯ (น่าจะเป็นกรุงศรีอยุธา)
Great Game
During the 1800s, Russia expanded into Central Asia. The British feared the Russians were aiming to take over India, and both sides began to spy
on each other. The British called this the Great Game; to the Russians it was known as the Tournament of Shadows.


(Right) Mountains of Lake Baikal, Russia

Mountains of Lake Baikal, Russia

มหาการแข่งขัน
            ในช่วงศตวรรษที่ 1800 ประเทศรัสเซียได้ขยายดินแดนไปยังเอเชียกลาง อังกฤษกลัวชาวรัสเซียจะมุ่งครอบครองอินเดีย และทั้งสองฝ่ายจึงได้เริ่มสอดแนมซึ่งและกัน อังกฤษเรียกเหตุการณ์นี้ว่า มหาการแข่งขัน (the Great Game) แต่รัสเซียเรียกว่า การแข่งขันเงา (the Tournament of Shadows)


(ขวา) เทือกเขาแห่งทะสาบไบคาล รัสเซีย