The
Han Dynasty
Han Dynasty
Government
When the Qin dynasty
collapsed in 207 BC, several different groups battled
for power. After several years of fighting, an army led by Liu Bang won control. Liu Bang
became the first emperor of the Han dynasty. This Chinese dynasty lasted for more
than 400 years.
|
ราชวงศ์ฮั่น
การปกครองสมัยราชวงศ์ฮั่น
ในขณะที่ราชวงศ์ฉินล่มสลายเมื่อ
207 ปีก่อนคริสตกาล มีกลุ่มต่าง ๆ มากมายหลายกลุ่มทำสงครามแย่งอำนาจกัน หลังจากต่อสู้กันเป็นเวลาหลายปี
กองทัพที่มีหลิวปังเป็นผู้นำก็ได้รับชัยชนะ หลิวปังก็กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์จีนราชวงศ์นี้ดำรงอยู่เป็นเวลามากกว่า 400 ปี
|
The Rise of a New
Dynasty
Liu Bang, a peasant,
was able to become emperor in large part because of the
Chinese belief in the mandate of heaven. He was the first common person to become emperor. He
earned people’s loyalty and trust. In addition, he was well liked by both
soldiers and peasants, which helped him to maintain
control.
Liu Bang’s rule was different from the strict
Legalism of the Qin. He wanted to free
people from harsh government policies. He lowered taxes
for farmers and made punishments less severe. He gave large blocks of land to his
supporters.
In addition to
setting new policies, Liu Bang changed the way
government worked. He set up a
government structure that built on the foundation begun
by the Qin. He also relied on
educated officials to help him rule.
Wudi Creates a New
Government
In 140 BC Emperor
Wudi took the throne. He wanted to
create a stronger central government. To
do that, he took land from the lords, raised taxes, and placed the supply of grain under the control
of the government.
Under Wudi,
Confucianism became China’s
official government philosophy. Government officials
were expected to practice Confucianism. Wudi
even began a university to teach Confucian ideas.
If a person passed an
exam on Confucian teachings, he could get a good position in the government. However, not just anyone could take the test. The
exams were only open to people who had been recommended
for government service already. As
a result, wealthy or influential families continued to
control the government.
Family Life
The Han period was a
time of great social change in China. Class
structure became more rigid. The
family once again became important within Chinese
society.
Social Classes
Based on the
Confucian system, people were divided into four classes. The upper class was made up of the
emperor, his court, and scholars who held government positions. The second class, the
largest, was made up of the peasants. Next
were artisans who produced items for daily life and some luxury goods. Merchants occupied the lowest class because they did not produce anything. They only bought and sold what others
made. The military was not an official
class in the Confucian system. Still, joining
the army offered men a chance to rise in social status
because the military was considered part of the
government.
Lives of Rich and
Poor
The classes only
divided people into social rank. They
did not indicate wealth or power. For
instance, even though peasants made up the second
highest class, they were poor. On
the other hand, some merchants were wealthy and powerful
despite being in the lowest class.
People’s
lifestyles varied according to wealth. The
emperor and his court lived in a large palace. Less important officials lived in
multilevel houses built around courtyards.
Many of these wealthy families owned large
estates and employed laborers to work the land. Some families even hired private armies
to defend their estates.
The wealthy filled their homes
with expensive decorations. These
included paintings, pottery, bronze lamps, and jade figures. Rich families hired musicians
for entertainment. Even the tombs
of dead family members were filled with beautiful, expensive objects.
Most people in the Han dynasty,
however, didn’t live like the
wealthy. Nearly 60 million people
lived in China during the Han dynasty, and about 90
percent of them were peasants who lived in the
countryside. Peasants put in long, tiring days working
the land. Whether it was in the
millet fields of the north or in the rice paddies of the
south, the work was hard. In the
winter, peasants were also forced to work on building
projects for the government. Heavy
taxes and bad weather forced many farmers to sell their land and work for rich landowners. By the last years of the Han dynasty, only a few farmers
were independent.
Chinese peasants lived simple
lives. They wore plain clothing made of fiber from a native plant. The main foods they ate were cooked grains like barley. Most peasants lived in small villages. Their
small, wood-framed houses had walls
made of mud or stamped earth.
|
กำเนิดราชวงศ์ใหม่
หลิวปังเป็นชาวไร่ชาวนา
มีความสามารถเป็นจักรพรรดิในดินแดนที่ขนาดใหญ่
เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อเรื่องประกาศิตสวรรค์ หลิวปังเป็นบุคคลสามัญที่กลายเป็นจักรพรรดิ
เขาได้รับความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์จากประชาชน นอกจากนั้น
เขายังได้รับความนิยมชมชอบจากทหารและชาวไร่ชาวนาเป็นอย่างดี
โดยช่วยเหลือเขาให้ปกครองประเทศ
การปกครองของหลิวปังมีความแตกต่างจากลัทธินิติธรรมนิยมอันเข้มงวดของราชวงศ์ฉิน
เขาต้องการให้ประชาชนมีอิสรภาพจากนโยบายการปกครองที่รุนแรง จึงลดภาษีให้กับเกษตรกรและทำการลงโทษอย่างจริงจังน้อยลง
ตลอดจนมอบที่ดินแปลงใหญ่ให้กับผู้สนับสนุนตนเอง
นอกจากการจัดตั้งนโยบายใหม่แล้ว
หลิวปังก็ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานของรัฐบาล โดยได้จัดตั้งโครงสร้างรัฐบาลบนพื้นฐานที่ราชวงศ์ฉินเริ่มไว้
พร้อมทั้งไว้วางใจข้าราชการที่มีการศึกษาให้ช่วยปกครอง
อู่ตี้สร้างรัฐบาลขึ้นใหม่
เมื่อ
140 ปีก่อนคริสตกาล อู่ตี้ (หรือหวู่ตี้) ได้ขึ้นครองบัลลังก์
พระองค์ต้องการสร้างรัฐบาลกลางให้มีความเข้มแข็ง ดังนั้น
พระองค์จึงยึดที่ดินมาจากขุนนาง เพิ่มภาษีอาการ และเอาสัมปทานข้าวมาไว้ในการควบคุมดูแลของรัฐบาล
ภายใต้การปกครองของอู่ตี้
ลัทธิขงจื๊อกลายเป็นปรัชญาที่เป็นทางการของรัฐบาลจีน ข้าราชการได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นปฏิบัติตามคำสอนของลัทธิขงจื๊อ
ยิ่งไปกว่านั้นอู่ตี้ยังได้เริ่มตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อสอนแนวความคิดของขงจื๊อ
ถ้าบุคคลสอบผ่านคำสอนของขงจื๊อ
จะได้รับตำแหน่งในรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเข้ารับการทดสอบ
การสอบจะเปิดให้กับบุคคลที่ได้รับการฝากฝังให้เข้ารับราชการแล้วเท่านั้น
เป็นเหตุให้ครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอิทธิพลเข้าครอบงำรัฐบาลต่อไป
ชีวิตครอบครัว
ยุคฮั่นเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งยิ่งใหญ่ในจีน
โครงสร้างชนชั้นมีความเข้มงวดมากขึ้น
ครอบครัวกลับมามีความสำคัญในสังคมจีนอีกครั้งหนึ่ง
ชนชั้นทางสังคม
ระบบของขงจื๊อได้แบ่งชนชั้นออกเป็น
4 ชนชั้น ชนชั้นสูงคือจักรพรรดิและราชตระกูล
ตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มีตำแหน่งในรัฐบาล ชนชั้นที่สอง
เป็นชนชั้นที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ชาวไร่ชาวนา ลองลงมาเป็นช่างฝีมือที่ผลิตสินค้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันและสินค้าฟุ่มเฟือยบางชนิด
พ่อค้าอยู่ในชนชั้นต่ำสุด เนื่องจากไม่ได้ผลิตอะไรเลย เพียงแค่ซื้อและขายสินค้าที่ผู้อื่นทำขึ้นเท่านั้น
ทหารไม่ได้เป็นชนชั้นข้าราชการในระบบขงจื๊อ การเข้าไปเป็นทหารยังคงให้โอกาสแก่ผู้ชายขึ้นสู่ตำแหน่งทางสังคม
เนื่องจากทหารถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล
การดำเนินชีวิตของคนรวยและคนจน
ชนชั้นยังแบ่งประชาชนออกเป็นชนชั้นทางสังคมอีก
โดยไม่ได้บ่งบอกความร่ำรวยและอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น
แม้ว่าชาวไร่ชาวนาจะเป็นชนชั้นสูงสุดลำดับที่สอง แต่ก็ยากจน อีกประการหนึ่ง พ่อค้าบางคนร่ำรวยและมีอิทธิพล
แต่ก็จัดอยู่ในชนชั้นต่ำสุด
รูปแบบชีวิตของประชาชนแตกต่างกันตามทรัพย์สมบัติ
จักรพรรดิและราชตระกูลอยู่ในปราสาทราชวังอันโอ่อ่า ข้าราชการที่มีความสำคัญน้อยลงมาอาศัยอยู่ในบ้านเรือนหลากหลายระดับสร้างอยู่รอบ
ๆ ลานบ้าน ครอบครัวที่ร่ำรวยเหล่านี้จำนวนมากเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่และจ้างกรรมการมาทำงานบนที่ดินของตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น บางครอบครัวก็จ้างกองทัพส่วนตัวมากป้องกันที่ดินของตนเอง
ความมั่งคั่งร่ำรวยทำให้บ้านเรือนของผู้คนเหล่านั้นเต็มไปด้วยเครื่องประดับที่มีราคาแพง
ประกอบไปด้วย ภาพวาด เครื่องปั้นดินเผา ตะเกียงทองสัมฤทธิ์ และรูปหล่อทำจากหยก ตระกูลที่ร่ำรวยจะจ้างนักดนตรีมาให้ความบันเทิง
ยิ่งกว่านั้น สุสานของสมาชิกในครอบที่เสียชีวิตลงก็เต็มไปด้วยสิ่งของที่สวยงาม
มีราคาแพง
อย่างไรก็ตาม
ประชาชนส่วนใหญ่ในราชวงศ์ฮั่นไม่ได้ดำเนินชีวิตเหมือนกับคนมั่งคั่งร่ำรวย
ประชาชนเกือบ 60 ล้านคน อาศัยอยู่ในจีนในช่วงราชวงศ์ฮั่น และประมาณ 90
เปอร์เซ็นต์เป็นชาวไร่ชาวนาที่อาศัยอยู่ในชนบท ชาวไร่ชาวนาจะทำงานเหน็ดเหนื่อยตลอดวันอันยาวนาน
งานหนักจะอยู่ในไร่ข้าวฟ่างในทางตอนเหนือหรือในนาข้าวในทางตอนใต้ ในฤดูหนาว
ชาวไร่ชาวนาก็ถูกบังคับให้ทำงานในโครงการก่อสร้างให้กับรัฐบาล ภาษีอันหนักหน่วงและอากาศอันเลวร้ายบังคับให้เกษตรกรขายที่ดินของตนเองและทำงานให้กับเจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวย
ในช่วงปีสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น มีเกษตรกรเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ได้รับอิสรภาพ
ชาวไร่ชาวนาจีนมีชีวิตเรียบง่าย
สวมใส่เสื้อผ้าเรียบทำจากใยพืชในท้องถิ่น อาหารหลักที่พวกเขารับประทานทำจากข้าว
เช่น ข้าวบาร์เลย์ ชาวไร่ชาวนาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ บ้านเรือนขนาดเล็กมีโครงสร้างเป็นไม้มีผนังทำจากโคลนหรือดินที่ขยำเข้ากัน
|
The Importance of Family
Honoring one’s family was an important
duty in Han China. In this painting, people give thanks before their family shrine. Only the men
participate. The women watch from
inside the house.
|
ความสำคัญของครอบครัว
การเคารพนับถือครอบครัวคือภารกิจสำคัญในจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น
ในภาพวาดนี้ ผู้คนทำพิธีขอบคุณเบื้องหน้าศาลประจำตระกูล ผู้ชายเท่านั้นที่ทำ
ผู้หญิงมองดูจากภายในบ้าน
|
The Revival of the
Family
Since Confucianism
was the official government philosophy during Wudi’s reign, Confucian teachings about the
family were also honored. Children
were taught from birth to respect their elders. Disobeying one’s
parents was a crime. Even emperors had
a duty to respect their parents.
Confucius had taught
that the father was the head of the family.
Within the family, the father had absolute power. The Han taught that it was a woman’s duty to obey her husband, and children
had to obey their father.
Han officials believed that if the
family was strong and people obeyed the father, then people would obey the emperor, too. Since the Han stressed strong family ties
and respect for elders, some men even gained government
jobs based on the respect they showed their parents.
Children were encouraged to serve their parents. They were also expected
to honor dead parents with ceremonies and offerings. All family members were expected to
care for family burial sites.
Chinese parents valued boys more highly than girls. This was because sons carried on the family line and took care of their
parents when they were old. On the other
hand, daughters became part of their husband’s family. According to a Chinese proverb, “Raising daughters is like
raising children for another family.” Some
women, however, still gained power. They
could actually influence their sons’ families. An older widow could even become the
head of the family.
|
การฟื้นฟูครอบครัว
เนื่องจากลัทธิขงจื๊อเป็นปรัชญาของรัฐบาลอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของอู่ตี้
คำสอนของขงจื๊อเกี่ยวกับครอบครัวก็ยังได้รับความเคารพนับถือ เด็ก ๆ
จะได้รับการสั่งสอนตั้งแต่เกิดให้เคารพผู้อาวุโส การไม่เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ของตนเป็นโทษทางอาญา
แม้กระทั่งจักรพรรดิก็มีหน้าที่เคารพบิดามารดาของตนเอง
ขงจื๊อสอนว่าบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว
ภายในครอบครัว บิดามีอำนาจสิทธิ์ขาด ราชวงศ์ฮั่นก็สอนว่า
เป็นหน้าที่ของสตรีที่จะเชื่อฟังสามี และลูก ๆ ต้องเชื่อฟังบิดาของตน
ข้าราชการฮั่นเชื่อว่า
ถ้าครอบครัวเข้มแข็งและประชาชนเชื่อฟังบิดา
ต่อจากนั้นประชาชนจะเชื่อฟังจักรพรรดิด้วย เนื่องจากราชวงศ์ฮั่นเน้นสัมพันธภาพอันเข้มแข็งของครอบครัวและเคารพนับถือผู้อาวุโส
แม้กระทั่งผู้ชายบางคนที่ได้ทำงานราชการก็เพราะพวกเขาแสดงความเคารพบิดามารดาของตนเอง
เด็ก ๆ
ได้รับการสนับสนุนให้ดูแลบิดามารของตนเอง ทั้งได้รับการคาดหวังว่าจะให้ความเคารพนับถือบิดามารดาที่เสียชีวิตแล้วด้วยการทำพิธีกรรมและการถวายเครื่องเซ่น
สมาชิกของครอบครัวทุกคนก็ได้รับการคาดหวังให้ดูแลสถานที่ฝังศพของตระกูล
บิดามารดาชาวจีนจะให้ความสำคัญบุตรชายไว้สูงมากกว่าบุตรสาว
ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากบุตรชายเป็นผู้สืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลและดูแลบิดามารดาของตนในเวลาแก่เฒ่า
ในสุภาษิตของจีนกล่าวไว้ว่า “การเลี้ยงดูบุตรสาวเป็นเหมือนการเลี้ยงดูลูก ๆ
ให้กับตระกูลอื่น” (เพราะลูกสาวต้องไปเป็นสะใภ้ของตระกูลอื่น) อย่างไรก็ตาม
สตรีบางคนก็ยังคงมีอำนาจ ซึ่งในความเป็นจริง พวกเธอสามารถมีอิทธิพลต่อครอบครัวของบุตรชายของตนเองได้
หญิงหม้ายชราภาพสามารถเป็นหัวหน้าครอบครัวได้ด้วยซ้ำไป
|
Science
This is a model of an
ancient Chinese seismograph. When
an earthquake struck, a lever inside caused a ball to drop from a dragon’s mouth into a toad’s mouth, indicating the direction from which the earthquake had come.
|
วิทยาศาสตร์
ภาพนี้เป็นรูปจำลองเครื่องวัดแผ่นดินไหวของจีนสมัยโบราณ
ในขณะที่แผ่นดินไหวเกิดการสั่นสะเทือน คานที่อยู่ด้านในจะทำให้ลูกกลม ๆ หล่นจากปากของมังกรตกลงไปในปากคางคก
แสดงทิศทางที่มาของแผ่นดินไหว
|
Han Achievements
Han rule was a time
of great accomplishments. Art and literature thrived,
and inventors developed many useful devices.
Art and Literature
The Chinese of the
Han period produced many works of art. They
became experts at figure painting—a
style of painting that includes portraits of people. Portraits often showed religious
figures and Confucian scholars. Han
artists also painted realistic scenes from everyday life. Their creations covered the walls of
palaces and tombs.
In literature, Han
China is known for its poetry. Poets
developed new styles of verse, including the fu style
which was the most popular. Fu poets
combined prose and poetry to create long works of
literature. Another style, called shi, featured short lines of verse that could be sung. Han rulers hired poets known for the beauty of their
verse.
Han writers also
produced important works of history. One
historian by the name of Sima Qian wrote a complete
history of all the dynasties through the early Han. His format and style became the model for later
historical writings.
|
ความสำเร็จของฮั่น
การปกครองสมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นยุคแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
ศิลปะและวรรณคดีมีความเจริญรุ่งเรือง และนักประดิษฐ์ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากมาย
ศิลปะและวรรณคดี
ชาวจีนในยุคฮั่นได้ผลิตงานด้านศิลปะมากมาย
เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวาดรูปภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบการวาดภาพประกอบไปด้วยภาพวาดครึ่งตัวของคน
ภาพวาดครึ่งตัวปกติจะเป็นบุคคลสำคัญทางศาสนาและปรมาจารย์ขงจื๊อ ศิลปินชาวฮั่นยังวาดภาพฉากในชีวิตประจำวันเหมือนจริงได้ด้วย
การสร้างสรรค์ของศิลปินเหล่านั้นเต็มไปทั่วผนังปราสาทและสุสาน
ด้านวรรณคดี
จีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นมีชื่อเสียงในด้านกวีนิพนธ์ นักกวีได้พัฒนารูปแบบโคลงฉันกาพย์กลอนใหม่
ๆ ประกอบด้วย รูปแบบฟู่ ซึ่งเป็นบทกวีที่มีชื่อเสียงที่สุด นักกวีฟู่ได้ประพันธ์บทร้อยแก้วและบทกวีเพื่อสร้างสรรค์งานด้านวรรณคดีขนาดยาว
รูปแบบอีกประการหนึ่ง เรียกว่า ซือ เป็นลักษณะโคลงฉันท์กาพย์กลอนสั้น ๆ
ซึ่งสามารถเอาร้องได้
นักปกครองฮั่นได้จ้างนักกวีที่มีชื่อเสียงเพื่อให้โคลงฉันท์กาพย์กลอนของตนเองมีความสละสลวยสวยงาม
นักเขียนแห่งราชวงศ์ฮั่นยังผลิตผลงานด้านประวัติศาสตร์ที่สำคัญด้วย
นักประวัติศาสตร์คนหนึ่ง นามว่า ซือหม่า เชียน
ได้เขียนประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ทั้งหมดตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นยุคแรกได้อย่างสมบูรณ์
การจัดรูปแบบและการออกแบบของเขาได้กลายมาเป็นแบบฉบับให้กับการเขียนประวัติศาสตร์ในยุคต่อมา
|
Medicine
Han doctors studied
the human body and used acupuncture to heal people.
|
แพทยศาสตร์
แพทย์สมัยราชวงศ์ฮั่นศึกษาร่างกายของมนุษย์และใช้การฝังเข็มเพื่อรักษาผู้คน
|
Art
This bronze horse is
just one example of the beautiful objects made by Chinese artisans.
|
ศิลปะ
ม้าสัมฤทธิ์นี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของวัตถุที่สวยงามที่ช่างฝีมือชาวจีนสร้างขึ้น
|
Inventions and
Advances
The Han Chinese
invented one item that we use every day—paper. They made it by grinding plant fibers,
such as mulberry bark and hemp, into a paste. Then they let it dry in sheets. Chinese scholars produced “books” by pasting several pieces of paper together
into a long sheet. Then they rolled the
sheet into a scroll.
The Han also made
other innovations in science. These
included the sundial and the seismograph. A
sundial uses the position of shadows cast by the
sun to tell the time of day. The
sundial was an early type of clock. A
seismograph is a device that measures the
strength of an earthquake. Han emperors were very
interested in knowing about the movements of the earth. They believed that earthquakes
were signs of future evil events.
Another Han innovation,
acupuncture, improved medicine. Acupuncture is
the practice of inserting fine needles through the skin
at specific points to cure disease or relieve pain. Many Han inventions in science and
medicine are still used today.
|
การประดิษฐ์และความเจริญก้าวหน้า
ชาวจีนยุคฮั่นได้ประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์อย่างหนึ่งที่พวกเราใช้อยู่ทุก
ๆ วัน คือ กระดาษ ด้วยการบดเส้นใยพืช เช่น
เปลือกต้นหม่อนและต้นป่านให้เป็นยางเหนียวแล้วตากแห้งจนเป็นแผ่น นักวิชาการของจีนได้ผลิตหนังสือด้วยการติดกระดาษหลาย
ๆ ชิ้นเข้าด้วยกันเป็นแผ่นยาว แล้วก็ม้วนแผ่นเหล่านั้นเป็นม้วนกระดาษ
ชาวฮั่นยังได้สร้างนวัตกรรมอื่น
ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ด้วย นวัตกรรมเหล่านี้ประกอบด้วยนาฬิกาทรายและเครื่องวัดแผ่นดินไหว
นาฬิกาทรายตำแหน่งเงาที่พระอาทิตย์ทอดมาบอกเวลาตอนกลางวัน นาฬิกาทรายเป็นนาฬิกาตั้งยุคแรก
เครื่องวัดแผ่นดินไหวคืออุปกรณ์ที่วัดแรงของแผ่นดินไหว เหล่าจักรพรรดิฮั่นทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากที่จะรู้ความเคลื่อนไหวของแผ่นดิน
จักรพรรดิเหล่านั้นทรงเชื่อว่า แผ่นดินไหวเป็นสัญญาณบอกเหตุการณ์ร้ายในอนาคต
สิ่งประดิษฐ์สมัยฮั่นอีกประการหนึ่ง
คือ การฝังเข็มบำบัดโรค ได้ปรับปรุงแพทยศาสตร์ให้ดีขึ้น
การฝังเข็มเพื่อการบำบัดโรค คือการแทงเข็มอันเรียวบางเข้าไปในผิวหนัง ณ
จุดเฉพาะเพื่อรักษาโรคหรือบรรเทาความเจ็บป่วย สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และแพทยศาสตร์ยุคฮั่นจำนวนมากยังคงมีใช้อยู่ในยุคปัจจุบัน
|
Han Contacts with Other Cultures
Farming and
Manufacturing
Many advances in
manufacturing took place during the Han dynasty. As a result, productivity increased and the empire prospered. These changes paved the way for China to make contact with people of other cultures.
|
การติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น ๆ สมัยราชวงศ์ฮั่น
เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการผลิต
ความเจริญก้าวหน้ามากมายในอุตสาหกรรมการผลิตได้เกิดขึ้นในยุคฮั่น
เป็นเหตุให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นและจักรวรรดิก็เจริญรุ่งเรือง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ปูทางให้กับจีนในการติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนในวัฒนธรรมอื่น
ๆ
|
By the Han period,
the Chinese had become master ironworkers.
They manufactured iron swords and armor that made the army more powerful.
Farmers also gained
from advances in iron. The iron
plow and the wheelbarrow, a single-wheeled
cart, increased farm output. With a wheelbarrow a farmer
could haul more than 300 pounds all by himself. With an iron plow, he could till more land and
raise more food.
Another item that increased in
production during the Han dynasty was silk, a soft, light, highly valued fabric. For
centuries, Chinese women had known the complicated
methods needed to raise silkworms, unwind the silk
threads of their cocoons, and then prepare the threads
for dyeing and weaving. The Chinese
were determined to keep their procedure for making silk a secret. Revealing these
secrets was punishable by death.
During the Han period, weavers used foot-powered looms to weave silk threads into beautiful fabric. Garments made
from this silk were very expensive.
|
ราวยุคราชวงศ์ฮั่น
ชาวจีนกลายเป็นช่างทำเหล็กผู้เชี่ยวชาญ โดยได้ผลิตดาบและอาวุธจากเหล็กซึ่งทำให้กองทัพมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เกษตรกรยังได้รับประโยชน์จากความเจริญก้าวหน้าในด้านเหล็ก
ไถเหล็กและรถเข็นล้อเดียวได้เพิ่มผลผลิตด้านเกษตรกรรม เกษตรกรสามารถใช้รถเข็นล้อเดียวลากสิ่งของได้มากกว่า
300 ปอนด์ทั้งหมดด้วยตัวเอง พร้อมทั้งเตรียมที่ดินเพาะปลูกได้มากขึ้นด้วยไถเหล็กตลอดจนเพิ่มอาหารได้มากขึ้น
สิ่งของอีกอย่างหนึ่งที่มีการผลิตมากขึ้นในช่วงราชวงศ์ฮั่น
คือ ผ้าไหม เป็นสิ่งทอมีเนื้อนุ่ม เบา มีราคาสูง เป็นเวลาหลายศตวรรษที่สตรีชาวจีนรู้จักวิธีซับซ้อนที่จำเป็นในการเลี้ยงตัวไหม
รู้จักวิธีคลี่เส้นไหมออกจากรังไหม และตระเตรียมเส้นไหมสำหรับย้อมและทอ ชาวจีนตัดสินใจว่าจะเก็บรักษาขบวนการทำผ้าไหมไว้เป็นความลับ
การเปิดเผยความลับเหล่านี้จะถูกลงโทษด้วยความตาย
ในช่วงยุคราชวงศ์ฮั่น
ช่างทอผ้าได้ใช้กี่กระตุกที่ใช้พลังเท้าในการทอเส้นไหมเป็นสิ่งทอที่สวยงาม เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ทำจากเส้นไหมมีราคาแพงมาก
|
The technique for making silk was a well-kept
secret in ancient China, as silk was
a valuable trade good in distant lands. Workers
made silk from the cocoons of silkworms,
just as they do today.
|
กลวิธีในการทำผ้าไหมถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับในจีนสมัยโบราณ
เนื่องจากผ้าไหมเป็นสินค้าที่มีราคาสำหรับค้าขายในดินแดนห่างไกล เหล่าคนงานได้ทำผ้าไหมจากรังของตัวไหม
แม้ปัจจุบันก็ยังทำกันอยู่
|
Trade Routes
Chinese goods, especially
silk and fine pottery, were highly valued by people in
other lands. During the Han period,
the value of these goods to people outside China helped increase trade.
Expansion of Trade
Trade increased
partly because Han armies conquered lands deep in
Central Asia. Leaders there told
the Han generals that people who lived still farther
west wanted silk. At the same time, Emperor Wudi wanted strong, sturdy Central Asian horses for his army. China’s leaders saw that they could make a profit by bringing silk to Central Asia
and trading the cloth for the horses. The Central Asian
peoples would then take the silk west and trade it for
other products they wanted.
|
เส้นทางค้าขาย
สิ้นค้าจีน
โดยเฉพาะผ้าไหมและเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามประณีต ผู้คนในดินแดนอื่น ๆ
จะให้ราคาสูง ในช่วงยุคราชวงศ์ฮั่น มูลค่าของสิ้นค้าเหล่านี้ที่กระจายไปสู่ผู้คนนอกจีนช่วยให้การค้าขายเพิ่มขึ้น
การขยายการค้าขาย
การค้าขยายเพิ่มขึ้นเป็นบางส่วน
เนื่องจากกองทัพฮั่นพิชิตดินแดนรุกล้ำเข้าไปลึกในเอเชียกลาง เหล่าผู้นำในดินแดนเหล่านั้นบอกแม่ทัพฮั่นว่า
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนไกลออกไปในทิศตะวันตกยังมีความต้องการผ้าไหม ในเวลาเดียวกันนั้น
จักรพรรดิอู่ตี้ต้องการม้าจากเอเชียกลางที่มีความแข็งแรง ทนทาน
ไว้ใช้ในกองทัพของพระองค์ เหล่าผู้นำของจีนมองเห็นว่า
สามารถสร้างผลกำไรด้วยการนำผ้าไหมไปยังเอเชียกลางและค้าขายเครื่องนุ่งห่มเพื่อแลกกับม้า
ต่อจากนั้น
ผู้คนชาวเอเชียกลางจะนำผ้าไหมไปยังดินแดนตะวันตกและค้าขายเพื่อแลกผลผลิตอื่น ๆ
ที่ตนเองต้องการ
|
The Silk Road
Traders used a series
of overland routes to take Chinese goods to distant
buyers. The most famous trade route
was known as the Silk Road. This 4,000-mile-long network of
routes stretched westward from China across Asia’s deserts and mountain ranges, through
the Middle East, until it reached the Mediterranean Sea.
Chinese traders did not travel the entire Silk Road. Upon reaching Central Asia, they sold their goods to local traders who would take them the rest of the way.
Traveling the Silk Road was
difficult. Hundreds of men and camels loaded down with valuable goods, including silks and jade,
formed groups. They traveled the Silk
Road together for protection. Armed guards
were hired to protect traders from bandits who stole
cargo and water, a precious necessity. Weather
presented other dangers. Traders
faced icy blizzards, desert heat, and blinding
sandstorms.
Named after the most
famous item transported along it, the Silk Road was worth its many risks. Silk was so
popular in Rome, for example, that China grew wealthy from that trade relationship alone. Traders
returned from Rome with silver, gold, precious stones,
and horses.
|
เส้นทางสายไหม
เหล่าพ่อค้าได้ใช้เส้นทางบกที่ติดต่อกันเป็นตอน
ๆ นำสินค้าจากจีนไปยังผู้ซื้อในดินแดนที่ห่างไกล เส้นทางค้าขายที่มีชื่อเสียงที่สุด
เรียกกันว่า เส้นทางสายไหม (the Silk Road) เส้นทางสายนี้เชื่อมโยงกันยาวถึง
4,000 ไมล์ (ประมาณ 6,400 กิโลเมตร) ทอดยาวเหยียดไปทางทิศตะวันตกจากจีนข้ามทะเลทรายและเทือกเขาของทวีปเอเชีย
ผ่านตะวันออกกลาง จนกระทั่งถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เหล่าพ่อค้าชาวจีนไม่ได้สัญจรไปทั่วเส้นทางสายไหม
เมื่อถึงเอเชียกลาง
ก็ขายสิ้นค้าให้กับเหล่าพ่อค้าในท้องถิ่นซึ่งจะนำสิ้นค้าเหล่านั้นไปยังส่วนอื่น
ๆ ของเส้นทาง
การสัญจรไปตามเส้นทางสายไหมลำบาก
ผู้ชายหลายร้อยคนและอูฐจะบรรทุกสินค้าที่มีค่า ประกอบด้วยผ้าไหมและหยก โดยไปกันเป็นกลุ่ม
พ่อค้าเหล่านั้นจะเดินทางไปบนเส้นทางสายไหมพร้อมกันเพื่อการอารักขา เหล่าผู้คุ้มกันติดอาวุธจะถูกจ้างมาเพื่อป้องกันเหล่าพ่อค้าจากพวกโจรที่จะมาปล้นสินค้าและน้ำซึ่งเป็นสิ่งของที่จำเป็นอย่างมาก
สภาพอากาศก็เป็นอันตรายอีกประการหนึ่ง เหล่าพ่อค้าจะเผชิญกับพายุหิมะเป็นน้ำแข็ง
ความร้อนในทะเลทราย และพายุทะเลทรายที่ทำให้มองไม่เห็นอะไรเลย
เส้นทางสายไหม
ซึ่งตั้งชื่อตามสินค้าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ขนส่งไปตามเส้นทางนี้
มีค่าควรแก่การเสี่ยงมาก ยกตัวอย่างเช่น ผ้าไหมเป็นที่นิยมกันมากในกรุงโรม ซึ่งจีนจะเจริญมั่งคั่งจากความสัมพันธ์ทางการค้าขายนั้นโดยลำพัง
เหล่าพ่อค้าจะเดินทางกลับจากกรุงโรมพร้อมด้วยเงิน ทองคำ รัตนชาติที่สูงค่า
และม้า
|
This giant Buddha statue
in China is among the largest in
the world. It was carved from a hillside and looks down over the meeting place of three rivers.
|
พระพุทธรูปขนาดมหึมานี้อยู่ในจีนจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แกะสลักจากข้างภูเขาและทอดพระเนตรลงมาเหนือสถานที่ที่แม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน
|
Buddhism
Comes to China
When the Chinese people came into contact with other civilizations, they exchanged
ideas along with trade goods. Among these ideas was a
new religion. In the first century AD Buddhism spread from India to China along the Silk Road and
other trade routes.
Arrival of a New
Religion
Over time, the Han
government became less stable. People
ignored laws, and violence was common. As
rebellions flared up, millions of peasants went hungry. Life became violent and uncertain. Many Chinese looked to Daoism or
Confucianism to find out why they had to suffer so much, but they didn’t find helpful answers.
Buddhism seemed to
provide more hope than the traditional Chinese beliefs did. It offered rebirth and relief from
suffering. This promise was a major reason
the Chinese people embraced Buddhism.
Impact on China
At first, Indian
Buddhists had trouble explaining their religion to the
Chinese. Then they used ideas found in Daoism to help describe Buddhist beliefs. Many people grew curious about Buddhism.
Before long, Buddhism caught on in China with both the poor and the upper classes. By AD 200, Buddhist altars stood in the
emperor’s palace.
Buddhism’s
introduction to China is an example of diffusion,
the spread of ideas from one culture to another. Elements of Chinese culture changed in
response to the new faith. For
example, scholars translated Buddhist texts into Chinese. Many Chinese became Buddhist monks and nuns. Artists carved towering statues of Buddha into mountain walls.
|
พุทธศาสนาเข้าสู่จีน
เมื่อชาวจีนเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น
ๆ ก็แลกเปลี่ยนแนวความคิดพร้อมกับสินค้าที่ค้าขายกัน ศาสนาใหม่ ๆ
ก็อยู่ในจำนวนแนวความคิดเหล่านี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 1
พุทธศาสนาได้เผยแพร่จากอินเดียไปสู่จีนตามเส้นทางสายไหม และเส้นทางการค้าขายอื่น
ๆ
การเข้ามาของศาสนาใหม่
เมื่อเวลาผ่านไป
รัฐบาลฮั่นมีเสถียรภาพน้อยลง ผู้คนไม่สนใจกฎหมาย และความรุนแรงก็เกิดขึ้นทุกวัน การก่อกบฏก็ปะทุขึ้น
ชาวไร่ชาวนาหลายล้านคนตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง การดำเนินชีวิตเกิดความสาหัสและไม่มีความแน่นอน
ชาวจีนจำนวนมากมองไปยังลัทธิเต๋าหรือลัทธิขงจื๊อเพื่อค้นหาแนวทางที่ตนเองต้องมาประสบทุกข์มากขึ้น
แต่ก็ไม่พบคำตอบที่มีประโยชน์
ศาสนาพุทธดูเหมือนจะให้ความหวังมากกว่าความเชื่อของจีนที่มีมาแต่โบราณ
โดยการสอนเรื่องการเกิดใหม่และการบรรเทาความทุกข์ คำมั่นสัญญานี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ชาวจีนอ้าแขนรับพุทธศาสนา
ผลกระทบต่อประเทศจีน
ครั้งแรก
ชาวพุทธอินเดียมีปัญหาในการอธิบายศาสนาของตนเองให้กับชาวจีน ต่อมาจึงได้ใช้แนวความคิดในลัทธิเต๋ามาช่วยอธิบายความเชื่อในศาสนาพุทธ
ประชาชนจำนวนมากจึงมีความอยากรู้อยากเห็นศาสนาพุทธ
ในไม่ช้า
พุทธศาสนาก็ได้รับความนิยมในจีนทั้งคนจนและชนชั้นสูง ประมาณ ค.ศ. 200 (ประมาณ
พ.ศ. 743) แท่นบูชาก็เข้าไปตั้งในพระราชวังของจักรพรรดิ
การที่ศาสนาพุทธเข้ามาสู่จีนเป็นตัวอย่างของการเผยแพร่แนวความคิดจากวัฒนธรรมหนึ่งไปยังอีกวัฒนธรรมหนึ่ง
รากฐานของวัฒนธรรมจีนเปลี่ยนแปลงไปยอมรับศรัทธาแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น
เหล่านักวิชาการได้แปลตำราทางศาสนาพุทธเป็นภาษาจีน ชาวจีนจำนวนมากก็บวชเป็นพระภิกษุและภิกษุณีในพุทธศาสนา
เหล่าศิลปินได้แกะสลักพระพุทธรูปสูงตระหง่านในผนังภูเขา
|