The Civilizations of Ancient India/อารยธรรมอินเดียโบราณ

The Civilizations of Ancient India
Geography of India
Look at a map of Asia in the atlas of this article. Do you see the large, roughly triangular landmass that juts out from the center of the southern part of the continent? That is India. It was the location of one of the worlds earliest civilizations.

Landforms and Rivers
India is huge. In fact, it is so big that many geographers call it a subcontinent. A subcontinent is a large landmass that is smaller than a continent. Subcontinents are usually separated from the rest of their continents by physical features. If you look at the map, for example, you can see that mountains largely separate India from the rest of Asia.
Among the mountains of northern India are the Himalayas, the highest mountains in the world. To the west are the Hindu Kush. Though these mountains made it hard to enter India, invaders have historically found a few paths through them.

อารยธรรมอินเดียโบราณ
ภูมิประเทศของอินเดีย
            ให้มองดูแผนที่ทวีปเอเชียในบทความนี้ คุณมองเห็นแผ่นดินขนาดใหญ่มีลักษณะขรุขระเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ยื่นออกจากตอนกลางของทวีปบางส่วนทางตอนใต้หรือไม่? นั่นคือประเทศอินเดีย เป็นที่ตั้งของอารยธรรมแห่งแรกสุดแห่งหนึ่งของโลก

ธรณีสัณฐานและแม่น้ำ
            อินเดียมีพื้นที่ขนาดใหญ่มหึมา ความจริง ใหญ่มากจนกระทั่งนักภูมิศาสตร์หลายคน เรียกกันว่า อนุทวีป (ทวีปย่อย) อนุทวีปคือแผ่นดินขนาดใหญ่ที่เล็กกว่าทวีป ปกติอนุทวีปจะแยกออกจากส่วนอื่นของทวีปทางกายภาพ ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมองดูแผนที่ คุณจะเห็นว่า ส่วนใหญ่ เทือกเขาจะแยกอินเดียออกจากส่วนอื่นของทวีปเอเชีย
            เทือกเขาที่อยู่ทางตอนเหนือของอินเดียคือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก ทางทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาฮินดูกูช แม้ว่าเทือกเขาเหล่านี้จะทำให้เข้าไปยังอินเดียยาก ตามประวัติศาสตร์แล้ว เหล่าผู้บุกรุกก็ค้นหาเส้นทางสองสามเส้นทางผ่านไปยังอินเดียได้

อารยธรรมอินเดียโบราณ

To the west of the Himalayas is a vast desert. Much of the rest of India is covered by fertile plains and rugged plateaus. Several major rivers flow out of the Himalayas. The valley of one of them, the Indus, was the location of Indias first civilization. The Indus is located in present-day Pakistan, west of India. When heavy snows in the Himalayas melted, the Indus flooded. As in Mesopotamia and Egypt, the flooding left behind a layer of fertile silt. The silt created ideal farmland for early settlers.
           
           
Climate
Most of India has a hot and humid climate. This climate is heavily influenced by Indias monsoons, seasonal wind patterns that cause wet and dry seasons.

In the summer, monsoon winds blow into India from the Indian Ocean, bringing heavy rains that can cause terrible floods. Some parts of India receive as much as 100 or even 200 inches of rain during this time. In the winter, winds blow down from the mountains. This forces moisture out of India and creates warm, dry winters.     

           ด้านตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัยคือทะเลทรายอันกว้างใหญ่ไพศาล ส่วนอื่น ๆ ของอินเดียส่วนมากปกคลุมไปด้วยที่ราบอันอุดมสมบูรณ์และที่ราบสูงอันขรุขระ แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัย ลุ่มแม่น้ำแห่งหนึ่ง คือ ลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นที่ตั้งของอารยธรรมแห่งแรกของอินเดีย แม่น้ำสินธุตั้งอยู่ในประเทศปากีสถานในปัจจุบัน อยู่ทางทิศตะวันตกของอินเดีย เมื่อหิมะจำนวนมากละลาย แม่น้ำสินธุจะมีน้ำไหลหลาก เหมือนกับในเมโสโปเตเมียและอียิปต์ เมื่อน้ำหลากจะทิ้งชั้นตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ไว้เบื้องหลัง ดินตะกอนได้สร้างที่ทำการเกษตรอันดีเลิศให้กับเหล่าผู้ตั้งหลักแหล่งในยุคแรก


สภาพอากาศ
            สภาพอากาศของอินเดียส่วนใหญ่จะร้อนและเปียกชื้น สภาพอากาศเช่นนี้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมของอินเดียอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นรูปแบบของลมตามฤดูกาลที่ทำให้เกิดฤดูฝนและฤดูแล้ง

         ในฤดูร้อน ลมมรสุมจะพัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าไปสู่อินเดีย พาฝนตกหนักที่สามารถทำให้น้ำท่วมรุนแรง ในช่วงนี้อินเดียบางส่วนรับน้ำฝนมากถึง 100 นิ้วหรือถึง 200 นิ้วเลยทีเดียว ในฤดูหนาว ลมจะพัดลงจากเทือกเขาหิมาลัย บังคับให้ความชื้นออกจากอินเดียและเกิดฤดูหนาวอันอบอุ่น แห้งแล้ง

อารยธรรมฮารัปปา

Harappan Civilization
Historians call the civilization that grew up in the Indus River Valley the Harappan civilization. In addition, many Harappan settlements were found along the Sarasvati River, located southeast of the Indus.

Like other ancient societies, the Harappan civilization grew as irrigation and agriculture improved. As farmers began to produce surpluses of food, towns and cities appeared in India.

Indias First Cities
The Harappan civilization was named after the modern city of Harappa, Pakistan. It was near this city that ruins of the civilization were first discovered. From studying these ruins, archaeologists think that the civilization thrived between 2300 and 1700 BC.

The greatest sources of information we have about Harappan civilization are the ruins of two large cities, Harappa and Mohenjo Daro. The two cities lay on the Indus more than 300 miles apart but were remarkably similar.

Both Harappa and Mohenjo Daro were well planned. Each stood near a towering fortress. From these fortresses, defenders could look down on the citiesbrick streets, which crossed at right angles and were lined with storehouses, workshops, market stalls, and houses. In addition, both cities had many public wells.

อารยธรรมฮารัปปา
           นักประวัติศาสตร์เรียกอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำสินธุว่า อารยธรรมฮารัปปา นอกจากนี้ การตั้งหลักแหล่งในฮารัปปายังถูกค้นพบตามลำแม่น้ำสรัสวดี ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำสินธุ

            อารยธรรมฮารัปปาเหมือนกับสังคมโบราณอื่น ๆ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเมื่อมีการปรับปรุงการชลประทานและการเกษตรกรรม ในขณะที่เกษตรกรเริ่มผลิตอาหารได้ล้นเหลือ เมืองเล็กและเมืองใหญ่ก็เกิดขึ้นในอินเดีย

เมืองแรกของอินเดีย
            อารยธรรมฮารัปปาตั้งชื่อตามเมืองฮารัปปาในปัจจุบัน ในประเทศปากีสถาน อารยธรรมนั้นตั้งอยู่ใกล้เมืองนี้ซึ่งมีการค้นพบซากปรักหักพังของอารยธรรมเป็นครั้งแรก จากการศึกษาซากปรักหักพังเหล่านี้ นักโบราณคดีคิดว่า อารยธรรมเจริญรุ่งเรืองระหว่างช่วง 2300 – 1700 ปีก่อนคริสตกาล

          แหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเราทราบเกี่ยวกับอารยธรรมฮารัปปาคือซากปรักปักพังของเมืองขนาดใหญ่สองเมือง คือ เมืองฮารัปปาและเมืองโมเหนโจ-ดาโร เมืองสองเมืองนั้นตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสินธุห่างกันมากกว่า 300 ไมล์ แต่มีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่ง

          ทั้งเมืองฮารัปปาและเมืองโมเหนโจ-ดาโร มีการวางแบบแปลนอย่างดี แต่ละเมืองตั้งอยู่ใกล้ป้อมปราการอันสูงตระหง่าน ต่อจากป้อมปราการเหล่านี้ มีทหารรักษาการณ์คอยตรวจตราดูถนนทำด้วยอิฐของเมือง ซึ่งตัดผ่านกันเป็นมุมฉากและมีคลังสินค้า ที่ทำงาน แผงลอยของตลาด และบ้านเรือนตั้งเรียงรายอยู่ นอกจากนี้ เมืองทั้งสองนั้นยังมีบ่อน้ำสาธารณะมากมายด้วย
ศิลปะฮารัปปา

Harappan Achievements
Harappan civilization was very advanced. Most houses had bathrooms with indoor plumbing. Artisans made excellent pottery, jewelry, ivory objects, and cotton clothing. They used high-quality tools and developed a system of weights and measures.

Harappans also developed Indias first writing system. However, scholars have not yet learned to read this language, so we know very little about Harappan society. Historians think that the Harappans had kings and strong central governments, but they arent sure. As in Egypt, the people may have worshipped the king as a god.

Harappan civilization ended by the early 1700s BC, but no one is sure why. Perhaps invaders destroyed the cities or natural disasters, like floods or earthquakes, caused the civilization to collapse.


ความสำเร็จของฮารัปปา
            อารยธรรมฮารัปปามีความก้าวหน้ามาก บ้านเรือนส่วนใหญ่จะมีห้องน้ำมีระบบท่อประปาภายในบ้าน ช่างฝีมือจะทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับเพชรพลอย วัตถุทำจากงา และเสื้อผ้าทำจากฝ้ายอันยอดเยี่ยม ช่างฝีมือเหล่านั้นใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพสูงและได้พัฒนาระบบการชั่งน้ำหนักและหน่วยวัดขึ้นใช้

          ชาวฮารัปปายังได้พัฒนาระบบการเขียนเป็นพวกแรกของอินเดีย อย่างไรก็ตาม นักวิชาการยังไม่สามารถเรียนรู้ในการอ่านภาษานี้ได้ ดังนั้น พวกเราจึงรู้เรื่องเกี่ยวกับสังคมฮารัปปาเพียงเล็กน้อย นักประวัติศาสตร์คิดว่า ชาวฮารัปปามีกษัตริย์และศูนย์กลางการปกครองอันเข้มแข็ง แต่นักประวัติศาสตร์เหล่านั้นก็ยังไม่มีความมั่นใจ ผู้คนคล้ายกับในอียิปต์อาจจะนับถือกษัตริย์เป็นเทพเจ้า

         อารยธรรรมฮารัปปาสิ้นสุดลงเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 1700 ก่อนคริสตกาล แต่ไม่มีใครมั่นใจว่าเป็นเพราะเหตุไร บางทีเหล่าผู้รุกรานน่าจะทำลายเมืองหรือเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว เป็นเหตุให้อารยธรรมล่มสลาย

การอพยพของชาวอารยัน


Aryan Migration
Not long after the Harappan civilization crumbled, a new group arrived in the Indus Valley. They were called the Aryans. They were originally from the area around the Caspian Sea in Central Asia. Over time, however, they became the dominant group in India.

Arrival and Spread
The Aryans first arrived in India in the 2000s BC. Historians and archaeologists believe that the Aryans crossed into India through mountain passes in the northwest. Over many centuries, they spread east and south into central India. From there they moved even farther east into the Ganges River Valley.

Much of what we know about Aryan society comes from religious writings known as the Vedas. These are collections of poems, hymns, myths, and rituals that were written by Aryan priests.

Government and Society
As nomads, the Aryans took along their herds of animals as they moved. But over time, they settled in villages and began to farm. Unlike the Harappans, they did not build big cities.

The Aryan political system was also different from the Harappan system. The Aryans lived in small communities, based mostly on family ties. No single ruling authority existed. Instead, each group had its own leader, often a skilled warrior.

            Aryan villages were governed by rajas. A raja was a leader who ruled a village and the land around it. Villagers farmed some of this land for the raja. They used other sections as pastures for their cows, horses, sheep, and goats.

การอพยพของชาวอารยัน
            ไม่นานนักหลังจากอารยธรรมฮารัปปาล่มสลาย ก็มีชนกลุ่มใหม่เดินทางเข้ามาในลุ่มแม่น้ำสินธุ ชนกลุ่มนั้น เรียกกันว่า อารยัน เดิมทีชนกลุ่มนั้นเดินทางมาจากบริเวณรอบ ๆ ทะเลแคสเปียนในเอเชียกลาง อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ชนกลุ่มนั้นก็กลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในอินเดีย

การเดินทางมาถึงและการแพร่กระจาย
            ชาวอารยันเดินทางมาถึงอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อศตวรรษที่ 2000 ก่อนคริสตกาล นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อว่า ชาวอารยันเดินทางข้ามช่องเขาเข้ามาสู่อินเดียด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวอารยันก็แพร่กระจายไปทางตะวันออกและทางใต้สู่อินเดียตอนกลาง จากที่นั่นก็อพยพไปไกลถึงด้านตะวันออกสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา

           ส่วนมากสิ่งที่พวกเราทราบเกี่ยวกับสังคมอารยันมากจากการเขียนเกี่ยวกับศาสนา ที่เรียกว่า พระเวท พระเวทนี้เป็นการรวบรวมบทกวี บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า นิทานปรัมปรา และพิธีกรรมที่เขียนขึ้นโดยนักบวชชาวอารยัน

การปกครองกับสังคม
          ในขณะที่ยังเป็นชนเผ่าเร่ร่อน ชาวอารยันได้พาฝูงสัตว์ไปด้วยในขณะที่อพยพ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็ได้ตั้งหลักแหล่งเป็นหมู่บ้านและเริ่มทำเกษตรกรรม ชาวอารยันไม่เหมือนชาวฮารัปปาไม่ได้สร้างเมืองขนาดใหญ่

          ระบบการเมืองของชาวอารยันยังแตกต่างจากระบบของชาวฮารัปปาด้วย ชาวอารยันอาศัยอยู่กันเป็นชุมชนเล็ก ๆ ส่วนใหญ่อาศัยความผูกพันกันเป็นครอบครัว ไม่มีผู้มีอำนาจปกครองแต่ผู้เดียว แต่ละกลุ่มมีผู้นำเป็นของตนเองแทน ปกติเป็นนักรบที่มีทักษะเชี่ยวชาญ

           หมู่บ้านของชาวอารยันปกครองโดยพระราชา พระราชาคือผู้นำที่ปกครองหมู่บ้านและที่ดินที่อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน ชาวหมู่บ้านทำเกษตรกรรมบางอย่างในที่ดินนี้ให้กับพระราชา ใช้ที่ดินสวนอื่น ๆ เป็นทุ่งเลี้ยงโค ม้า แกะ และแพะ

Although many rajas were related, they didnt always get along. Sometimes rajas joined forces before fighting a common enemy. Other times, however, rajas went to war against each other. In fact, Aryan groups fought each other nearly as often as they fought outsiders.

Language
The first Aryan settlers did not read or write. Because of this, they had to memorize the poems and hymns that were important in their culture, such as the Vedas. If people forgot these poems and hymns, the works would be lost forever.

The language in which these Aryan poems and hymns were composed was Sanskrit, the most important language of ancient India. At first, Sanskrit was only a spoken language. Eventually, however, people figured out how to write it down so they could keep records. These Sanskrit records are a major source of information about Aryan society. Sanskrit is no longer spoken today, but it is the root of many modern South Asian languages.

          
           แม้ว่าพระราชหลายองค์จะมีความสัมพันธ์กัน ปกติก็ไม่ได้เป็นมิตรกัน บางครั้งพระราชาจะสานสัมพันธ์อำนาจกันก่อนจะต่อสูกับศัตรูกลุ่มเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาอื่น พระราชก็จะทำสงครามต่อสู้กัน ความจริง กลุ่มชนอารยันจะต่อสู้กันเกือบจะเป็นประจำพอ ๆ กับต่อสู้กับคนภายนอก

ภาษา
            ผู้ตั้งหลักแหล่งชาวอารยันพวกแรกไม่มีการอ่านและการเขียน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีการจดจำบทกวีและบทสวดสรรเสริญที่สำคัญในวัฒนธรรม เช่น พระเวท ถ้าผู้คนลืมบทกวีและบทสวดสรรเสริญเหล่านี้ ผลงานจะสูญหายไปตลอดกาล

            ภาษาที่ใช้เรียบเรียงบทกวีและบทสวดสรรเสริญของชาวอารยันเหล่านี้ คือ ภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดของอินเดียโบราณ ครั้งแรก ภาษาสันสกฤตเป็นเพียงภาษาพูดเท่านั้น อย่างไรก็ตามในที่สุดผู้คนก็คิดวิธีเขียนเพื่อเก็บรักษาบทบันทึกไว้ได้ บทบันทึกภาษาสันสกฤตเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับสังคมอารยัน ภาษาสันสกฤตไม่ได้ใช้พูดกันยาวนานจนถึงปัจจุบัน แต่ก็เป็นรากศัพท์ให้กับภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน (เช่น ภาษาไทย ลาว เขมร พม่า อินโดนีเซีย ฯลฯ)